ReadyPlanet.com
dot dot
dot
พระธาตุเขี้ยวแก้วและนิกายสยามวงศ์ในศรีลังกา article

พระพุทธศาสนาในลังกาปัจจุบัน

           กล่าวกันว่า ประเทศศรีลังกาถึงจะเป็นประเทศเล็กๆ แต่ก็มีกระทรวงมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก เพราะมีถึง ๔๐ กระทรวงด้วยกัน เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง วัฒนธรรม เป็นต้น ที่สำคัญคือมีกระทรวงพระพุทธศาสนา กระทรวงคริสต์ ฮินดู อิสลาม ด้วย บางศาสนาที่เล็กก็อาจจะไปแปะไว้กับกระทรวงใหญ่บ้าง เท่าที่สอบถามและสืบค้นเกี่ยวกับนิกายพระพุทธศาสนาที่สำคัญในลังกา มีอยู่ด้วยกัน ๓ นิกายใหญ่ คือ
          . นิกายสยามวงศ์ แบ่งออกเป็นนิกายย่อยอีก ๖ นิกาย ที่สำคัญที่สุด คือนิกายฝ่ายมัลวัตตะ
(วัดบุปผาราม) และฝ่ายอัสสคิรี
          . อมรปุรนิกาย เป็นนิกายเล็กรองลงมา เป็นสายพม่า นิกายนี้แตกย่อยออกไปอีก ถึง ๒๐ กลุ่มด้วยกัน
          . รามัญนิกาย เป็นนิกายเล็กสุด สืบเชื้อสายมาจากมอญ

          นิกายสยามวงศ์ที่สืบเชื้อสายมาจากอุบาลีวงศ์มีความสำคัญมากเป็นอันดับหนึ่ง เพราะเป็นนิกายที่มีพระจำนวนมากที่สุด และเป็นผู้ยึดครองกรรมสิทธิ์ในการดูแลพระธาตุเขี้ยวแก้ว ซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานอยู่ ณ หอพระทันตธาตุ เมืองแคนดี พระธาตุเขี้ยวแก้วถือว่าเป็นเสมือนกล่องดวงใจของชาวศรีลังกา มีความสำคัญมาก ขนาดพระแก้วมรกต มีประเพณีสืบทอดกันมาว่า ผู้เป็นสังฆนายกแห่งวัดมัลลวัตตะและวัด อัสสคีรี ซึ่งเป็นพระฝ่ายสยามวงศ์ทั้งสองวัด จะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมีหน้าที่คอยดูแลพระธาตุเขี้ยวแก้วรูปละปี แต่จะมีฆราวาสคนหนึ่งชื่อนิรัน จันท์ เป็นผู้ดูแลถาวร เนื่องด้วยมีธรรมเนียมปฏิบัติแต่โบราณกาลว่า พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของพระธาตุเขี้ยวแก้ว และพระธาตุเขี้ยวแก้วอยู่ในกรรมสิทธิ์ของผู้ใด ผู้นั้นก็สามารถกุมอำนาจทางการ เมืองและกำดวงใจของประชาชนทั้งชาติไว้ได้ทั้งหมด บางทีถึงกับม ีการแก่งแย่งชิงพระราชสมบัติกัน ฝ่ายชนะคือผู้ที่ยึดครองพระธาตุเขี้ยวแก้วไว้ได้ ส่วนผู้ดูแลพระธาตุถาวรนั้นต้องสืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์ มีฐานะเป็นผู้ดูแล (Custodian) และเป็นไวยาวัจกรใหญ่รับผิดชอบหอพระทันตธาตุเป็นประจำ ไม่ต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเหมือนกับพระสังฆนายกทั้งสอง จึงเป็นเหตุให้เรืองอำนาจมาก การเข้ามารับตำแหน่งเป็น ผู้ดูแลนี้ต้องผ่านกระบวนการชาวพุทธเลือกตั้งเข้ามา ซึ่งจัดขึ้นตามประเพณีโบราณ มีเงื่อนไขว่า ผู้สมัครเข้าทำงานตำแหน่งนี้ต้องมีเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์ วาระของ ตำแหน่งดำรงคงอยู่ได้ถึง ๑๐ ปี เมื่อหมดวาระแล้วมีสิทธิสมัครเข้ามารับตำแหน่งใหม่อีกได้ มีข้อมูลสถิติปัจจุบันที่น่าสนใจมากว่า ในบรรดาพระภิกษุสามเณรชาวลังกาทั้งสิ้น ประมาณ ๓๐,๐๐๐ รูป จะเป็นผู้อยู่สังกัดฝ่ายสยามนิกาย สืบเชื้อสายมาจากพระอุบาลี มหาเถระประมาณถึง ๑๒,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ รูป สังกัดฝ่ายอมรปุระ ๗,๐๐๐-,๐๐๐ รูป และสังกัดฝ่ายรามัญนิกายอีก ๓,๐๐๐-,๐๐๐ รูป

พระธาตุแสดงอภินิหาร

มีความเชื่อถือว่า ถ้าฝนไม่ตก ฝนแล้ง เจ้าหน้าที่จะอัญเชิญพระธาตุเขี้ยวแก้วออกแห่เพื่อขอฝน และจะได้สัมฤทธิผลดังปรารถนาจริง ๆ ชาวลังกาเชื่อว่า ถ้าใครได้ครอบครอง พระธาตุเขี้ยวแก้วจะเป็นพระราชาพระมหากษัตริย์ นี่เป็นความเชื่อขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับพระธาตุ นายเสถียร โพธินันทะ ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับอภินิหารของพระธาตุตอนหนึ่งในหนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะไว้ว่า "เมื่อโปรตุเกสครอบครองศรีลังกาอยู่นั้น เพื่อเป็นการถอนรากถอนโคนพระพุทธ-ศาสนาในลังกา โปรตุเกสได้ออกกฎหมายใช้เก็บภาษีต่อครอบครัวชาวพุทธอย่างรุนแรง ผู้ใดยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ก็ได้อภิสิทธิ์ไม่ต้องเสียภาษี จึงมีชาวลังกาเข้ารีตเป็นจำนวนมากรวมทั้งพระเจ้าธรรมปาละแห่งโคลัมโบด้วย เข้ารีตแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นพระเจ้าดองยวงและเพื่อเป็นการประกาศชัยชนะของพระผู้เป็นเจ้า นักสอนศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกจึงสั่งให้ พระเจ้ายองดวงมอบพระเขี้ยวแก้วให้ แล้วหัวหน้าบาทหลวงคาทอลิกได้ใช้ครกตำพระเขี้ยวแก้ว ต่อหน้าชาวลังกาจนทำลายไปหมด รัฐบาลโปรตุเกสได้ออกเหรียญที่ระลึกในงานนี้ รูปเหรียญด้านหนึ่งเป็นรูปผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสจารึกว่า "ผู้พิทักษ์อันเที่ยงแท้" อีกด้านหนึ่งเป็นรูปบาทหลวงตำพระเขี้ยวแก้ว พระสันตปาปาแห่งโรมได้ส่งสารมา แสดงความยินดี แต่พระเจ้าวิมลธรรมสุริยะแห่งกรุงแคนดีบอกว่า พระเขี้ยวแก้วของจริงอยู่ที่ตน ที่พวกบาทหลวงทำลายเป็นของปลอม"

เข้าชมหอไตร เมื่อลงมาข้างล่าง คนเยอะแยะมากเพราะเป็นช่วงเทศกาลวิสาขะพอดี ข้าพเจ้ามองไม่ เห็นคณะเลย เจ้าหน้าที่วัดเข้ามาบริการ และชี้ทางให้เดินขึ้นไปยังหอไตร ได้ ชมพระไตรปิฎกฉบับต่าง ๆ รวมทั้งฉบับมหาจุฬาฯ ด้วย หอไตรไม่ใหญ่โตมากนัก เพียงเขานำคัมภีร์ต่าง ๆ นำออกแสดงเป็นบางส่วนเท่านั้น แต่การเก็บรักษาและวิธีนำ เสนอน่าสนใจมาก เหมือนเป็นสิ่งบอกเตือนว่า เมื่อได้มากราบไหว้นมัสการพระธาตุเขี้ยวแก้ว ซึ่งเปรียบเสมือนได้เดินทางมาเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขึ้นชมและนมัสการพระธรรมคำสั่งสอนด้วย ได้กราบไหว้ทั้งพระพุทธและพระธรรม เป็นความหมายที่ดีมากทีเดียว พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว เพียงไม่นานนัก ก็พบตนเองเดินตามคณะไปทางด้านหลังของที่บรรจุพระธาตุเขี้ยวแก้ว เดินผ่านห้องรับรองซึ่งมีรูปภาพงามวิจิตร ก่อนเดินขึ้นไปชมพิพิธภัณฑ์ที่ชั้น ๒ ซึ่ง แสดงสิ่งของทั่วไป ส่วนมากเป็นสิ่งของเครื่องบรรณาการที่ชาวพุทธจากประเทศต่าง ๆ นำมามอบถวายไว้ให้เป็นพุทธบูชากราบไหว้พระธาตุเขี้ยวแก้วศักดิ์สิทธิ์ ต้องชมความคิดของผู้จัดการและประเพณีการสืบทอดในประเพณีรักษาสถานที่แห่งนี้ไว้ว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมเกียรติยศดีที่สุด ข้าพเจ้าใช้เวลาไม่นานนัก ณ ชั้นนี้

พระธาตุของพระโมคคลีบุตรติสสะเถระ ประมุขสงฆ์ ของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียซึ่งขณะนี้ประดิษฐานอยู่ในส่วนพิพิธภัณฑ์ของวัดนี้

ต่อมา ได้เดินขึ้นไปที่ชั้นบนสุด เป็นชั้นที่ ๔ สำหรับข้าพเจ้าเองแล้ว ได้อะไร ๆ หลายอย่าง เพราะมีคติความเชื่อดั้งเดิมว่า "คัมภีร์มหาวงศ์เป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติศรีลังกา เปรียบเสมือนคัมภีร์ชินกาลมาลินีเป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติไทยฉะนั้น" ความ วิเศษของคัมภีร์มีว่า คัมภีร์มหาวงศ์เขียนประวัติพระพุทธศาสนามาจบลงที่พระราชวงศ์องค์สุดท้ายของประเทศ ศรีลังกาเมื่อประมาณ พ.. ๒๓๐๐ โดยที่ในส่วนท้ายของคัมภีร์ได้มีการพูดถึงการฟื้นฟู พระพุทธศาสนาในศรีลังกา ที่มีพระสงฆ์ไทยคือพระอุบาลีมหาเถระและพระอริยมุนีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ จนประดิษฐานนิกายสยามูปาลีมหานิกายได้อย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบันนี้ คัมภีร์ชินกาลมาลินีของเราจบลงเมื่อ พ.. ๒๓๐๐ เท่านั้น พระบฏ ลวดลายมงคล ๑๐๘ ขณะยืนชมรอยพุทธบาทจำลองชิ้นหนึ่ง ณ พิพิธภัณฑ์ชั้น ๔ นี้ คุณสุภาศิริ อมาตยกุล เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศ ก็นิมนต์พาไปชมพระพุทธบาทอีกชิ้นหนึ่งเป็นแผ่นผืนผ้าสมัยพระเจ้าบรมโกศ ที่ทรงฝากมากับพระธรรมทูตไทยเพื่อถวายบูชาพระธาตุเขี้ยวแก้วในคราว ส่งพระไทยมาช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกาเมื่อ ๒๕๐ ปีที่แล้ว สำหรับข้าพเจ้าถือว่าเป็นสิ่งประทับใจมากที่สุด เพราะรอยพระบาทนี้ได้แกะร่องรอยมา ช้านานแล้ว ไม่น้อยกว่า ๕-๖ ปี ใครเดินทางมาลังกาก็มักฝากบอกว่าให้ช่วยไปตามสืบพระพุทธบาทจำลองนี้หรือถ่ายภาพ มาให้ดูหน่อย แต่ยังไม่เคยประสบผลสำเร็จสักที จวบจนวันนี้ได้มาประสบพบด้วยตนเอง พระบฏเป็นผืนผ้าที่มีรูปเป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายพระพุทธเจ้าเก็บไว้เพื่อกราบไหว้บูชา เป็นผืนผ้าที่สมบูรณ์และงดงามมากที่สุดในโลก แสดงถึงความเป็นเอกอุของศิลปกรรมในยุคอยุธยาตอนปลาย ทุกคนที่หากได้มาชมดูคงต้องพูดเป็นเสียงเดียวว่า เป็นศิลปะล้ำค่า ฝีมือช่างหลวงแห่งดินแดนสยามที่งดงามประณีตวิจิตร ที่สำคัญเป็นการบอกแสดงถึง รูปภาพมงคล ๑๐๘ ประการ ที่แต่ละรูปนอกจากแสดงความเป็นไทยแล้ว ยังแสดงความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาตามคติในพระพุทธศาสนา หากได้นำมาศึกษา เปรียบเทียบภาพมงคลชนิดภาพต่อภาพ กับรอยพระ พุทธบาทประดับมุกของวัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพมหานครแล้ว จะเห็นวิวัฒนาการของ ศิลปะไทยระหว่างปลายอยุธยา พ.. ๒๒๙๖ กับศิลปะตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาล ที่ ๓ สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าเคยตั้งข้อสังเกตคือ รูปพัด ในขณะที่ในรูปภาพสมัยอยุธยายังเป็น พัดใบตาล มีขาตั้งขึ้น เหมือนกับพัดตาลปัตร ตามบ้านนอกทั่วไป เมื่อสมัย ๕๐ ปีที่แล้ว แต่ใน ภาพมงคลของยุคต้นรัตนโกสินทร์ได้พัฒนาเป็นพัดยศหรือพัดประกอบสมณศักดิ์ไปเรียบร้อยแล้ว คำบรรยายประกอบ เบื้องหน้าแท่นพระบฏด้านนอก มีคำบรรยายเป็นภาษาสิงหล และอังกฤษ ซึ่งข้าพเจ้าได้ถ่ายภาพและคัดลอกมา มีใจความดังนี้

Foot Print

          The sacred object symbolizing the Buddha said to have been offered to
the temple of the Tooth Relic by Venerable Upali Maha Thera during the reign of Kirti Sri Rajasingha, who arrived from Siam to re-establish the Bhikkhu Order which was at a low ebb the time. This sacred object offered by the King of Siam is woven with golden thread and decorated with the auspicious marks of the Buddha in the Thai style. The original of this sacred object is being worshipped by the royal family in the palace itself. The seven-storeyed pedestal on which the foot print is placed signifies mount meru encircled by seven mountains. By placing the foot print on the summit of meru, it symbolizes the universality of the Buddha Dhamma.

          ถอดความว่า "พระบฏศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเครื่องหมายแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชิ้นนี้ เล่ากันว่า ในยุคของพระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ ท่านพระอุบาลีมหาเถระ ซึ่งเดินทาง มาจากประเทศสยาม เพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกา ซึ่งตกอยู่ในภาวะที่ไม่มีภิกษุ เหลืออยู่เลย ได้นำมาถวายแด่พระธาตุเขี้ยวแก้ว พระเจ้ากรุงสยาม (คือพระเจ้าบรมโกศ) ได้ทรงถวาย พระบฏนี้ฝากถวายเป็นพุทธบูชา พระบฏเป็นผืนผ้าที่ทออย่างดีปักดิ้นทอง และประดับประดาด้วยลวดลายมงคลไทย ๑๐๘ ประการ พระบรมวงศานุวงศ์ในพระบรมราชวังได้กราบไหว้บูชาตามประเพณีสืบกันมา ฐาน ๗ ชั้นซึ่งพระพุทธบาทวางประทับอยู่นั้น แสดงให้เห็นถึงภูเขาสิเนรุ ซึ่งล้อมรอบด้วยภูเขา ๗ ลูก การทรงประทับวางพระพุทธบาทบนยอดเขาพระสุเมรุ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึง พระพุทธธรรมเป็นสิ่งสากลทั่วไป"

การอุบัติแห่งสยาโมบาลีวงศ์มหานิกาย

          เมื่อ พ.. ๒๒๙๐ พระเจ้ากีรติ ศรี ราชสิงห์ขึ้นเสวยราชย์ ในเมืองแคนดี พระนามของพระองค์ยังคงอยู่อย่างแยกกันไม่ออกกับการฟื้นฟูการอุปสมบท ซึ่งระยะนั้น กำลังจะสูญสิ้นไป พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ แม้จะนับถือศาสนาฮินดูก็ตาม แต่ก็มีความสนใจยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับจิตใจของคณะสงฆ์ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เพราะเมื่อขาด พระภิกษุแล้ว ผู้จะบรรพชาได้ก็เป็นเพียงแค่สามเณร และสมณะก็อยู่ในภาวะที่ขาดแคลน เป็นการยากมากที่จะรวมเอาพระเถระจำนวน ๕ รูปทั้งเกาะลังกามาให้การอุปสมบท           ในช่วงยุคมืดนี้ คณะสงฆ์บางกลุ่มไร้ยางอาย ก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่คณะสงฆ์ที่ตั้งมั่นมาช้านาน บางรูปเป็นคนทุศีล มีพฤติกรรมไร้ศีลธรรม ถึงกับมีภรรยาเลี้ยงดูลูกตนเอง บางรูปไม่รู้เกี่ยวกับคำสอนพื้นฐานทางพระพุทธศาสนาเลย แต่แสร้งและโกหกว่าเป็นผู้คง แก่เรียน
          ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวนี้ พระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมทรามลงมาก และชาวบ้านได้เข้าไปหาท่านพระสรณังกร (ต่อมา ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์สุดท้ายของประเทศศรีลังกา) เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน และทูลขอให้ช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นมาใหม่ โดยให้มีการประดิษฐานวิธี "อุปสมบทวินัยกรรม" และให้มีการอบรมคณะสงฆ์โดยการ อุปสมบทเป็นพระภิกษุขึ้นมาใหม่
          ดังนั้น จึงเป็นหนที่ ๓ ที่มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกันนี้ในประเทศศรีลังกา พระเจ้าแผ่นดินทรงตกลงพระทัย ที่จะปฏิบัติตามคำทูลขอแบบไม่ลังเลพระทัย พร้อมกับขอความช่วยเหลือจากพวกดัทช์ฮอลแลนด์ จัดให้มีการส่งราชทูตไปประเทศสยาม ที่ปัจจุบันนี้คือประเทศไทย เพื่อช่วยหาพระภิกษุผู้สามารถมาช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาได้           คณะราชทูตศรีลังกา หลังจากเดินทางขึ้นเรือโดยสารชาวดัทช์ผ่านเมืองบัทตาเวีย (ปัจจุบัน จาร์กาตา) เข้ามาแล้ว ได้มีโอกาสไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินสยาม และทูลขอเจ้ากรุงสยาม ให้ช่วยส่งพระภิกษุผู้มีความสามารถมาประกอบพิธีกรรมอุปสมบทในศรีลังกา           คณะราชทูตศรีลังกาเดินทางถึงอยุธยา เมืองหลวงประเทศสยาม และพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงพระนามว่าธรรมิกราชา (หมายถึง พระเจ้าบรมโกศ) ทรงต้อนรับด้วยเกียรติยศสูงส่ง คณะราชทูตนำโดยท่านวิลละภาเคทะระ ท่านพัตตโปละ ยศชั้นโมโหฏฏาละ, ท่านเอลเลโปละ ยศชั้นโมโหฏฏาละ, ท่านเอตตลิยัทเท ยศชั้นมูหันทิรัม, ท่านอิริยะคมะ ยศชั้นมูหันทิรัม และ อีก ๖๐ คน ซึ่งเป็นแพทย์ นักโหราศาสตร์ ทหาร คนรับใช้ เป็นต้น
          คณะราชทูตได้พักอยู่ในประเทศสยามชั่วคราว และพระเจ้าแผ่นดินสยามทรงอำนวยความสะดวกโดยให้ไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่น วัดป่าโมก วัดพุทไธสวรรค์ วัดมหาบัลลังก์ เป็นต้น คณะราชทูตได้พักอยู่ในประเทศสยามจนถึงเวลาออกพรรษา           พระภิกษุสยามที่เดินทางไปประเทศศรีลังกา นำโดย () พระอุบาลีมหาเถระ หรือ ที่เรียกกันว่า ท่านพุทธธรรมอุบาลี และท่านอื่น ๆ คือ () พระอริยมุนีมหาเถระ, () มหาอินทสุวรรณเถระ, () มหาพรหมวังสะเถระ, () มหาสุวัณณเถระ, () มหามุนีสาระเถระ, () มหาธัมมโชตะเถระ, () มหามุนีเถระ, () มหาจันทสุวรรณะเถระ, (๑๐) มหา อัสสมีเถระ, (๑๑) มหาปุณณสะเถระ, (๑๒) มหาสารจันทะเถระ, (๑๓) มหาปุณณชาตะเถระ, (๑๔) มหาจันทสาระเถระ, (๑๕) มหาอินทโชตะเถระ, (๑๖) มหารัฏฐะเถระ, และ (๑๗) มหาจันทโชตะเถระ (ในสยามูปสัมปทวัต ได้ให้รายชื่อพระ ๑๘ รูปไว้ดังนี้ พระราชาคณะ ๒ รูป คือ ๑. พระอุบาลี ๒. พระอริยมุนี เปรียญไปเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ๕ คือ ๓. พระมหานาม ๔. พระมหาบุญ ๕. พระมหาสุวรรณ ๖. พระมหามนิศร์ ๗. พระมหามณี อีก ๑๑ รูป เรียกตามนามฉายา ว่า ๘. พระพรหมโชติ ๙. พระมณีโชติ ๑๐. พระจันทรโชติ ๑๑. พระธรรมโชติ ๑๒. พระบุญโชติ ๑๓. พระอินทรโชติ ๑๔. พระจันทสาระ ๑๕. พระสิริจันทะ ๑๖. พระอินทสุวรรณ ๑๗. พระพรหมสร ๑๘ พระยศทิน)

          ท่านเหล่านี้มีสามเณรร่วมเดินทางอีก ๗ รูป และข้าราชการผู้ใหญ่ ๕ ท่าน คือ หลวงวิสุทธไมตรี, หมื่นพิพิธเสน่หา, ขุนวาจาภิรมย์, ขุนมหาพร และขุนพาทีวิจิตร           คณะสงฆ์และพวกคฤหัสถ์เดินทางแล่นเรือมุ่งสู่ประเทศศรีลังกา โดยอาศัยเรือกำปั่นโดยสารชาวดัทช์ชื่อ สีซิเลีย และเดินทางถึงเมืองบัทตาเวียโดยปลอดภัย เมื่อได้พบว่าเรือนั้นไม่ปลอดภัยที่จะใช้เดินทางต่อไปได้ จึงต้องเปลี่ยนเรือใหม่ ซึ่งเป็นเรือดัทช์ชื่อโอสคาเฟล ทอดสมออยู่ที่เมืองบัตตาเวีย และเดินทางถึงท่าเรือตรินโคมาลี ใน พ.. ๒๒๙๖ เมื่อข่าวการเดินทางมาถึง พระเจ้าแผ่นดินกรุงลังกาได้ส่งท่านเอเฮเลโปละ อธิการาม เดินทางมาพบท่านราชทูตและแนะนำให้พาคณะธรรมทูตไปยังเมืองแคนดี           พระเจ้ากีรติ ศรี ราชสิงห์ ทรงต้อนรับพวกภิกษุและคฤหัสถ์ด้วยความเคารพยำ เกรงเป็นอย่างมาก ทรงถวายที่พักอาศัย ณ วัดมัลวัตตะ และให้คฤหัสถ์พักที่บ้านพักรับรองชื่อ โบคามบาระ ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรรูปแรกเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอุบาลี รูปต่อไปที่จะได้รับการอุปสมบทคือสามเณรทิพโพตุวาเว พุทธรักขิต หลังจากนั้น พระภิกษุชาวสยามก็เริ่มให้พวกอุบาสกบวชเป็นสามเณรก่อน และให้สามเณรบวชเป็นพระภิกษุต่อมา ในการที่ช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงตกต่ำที่สุด
          พระภิกษุที่ได้รับการอุปสมบทจากท่านพระอุบาลีมหาเถระ ได้พัฒนาเป็นนิกาย ซึ่งเรียกกันว่าเป็น "สยาโมบาลีวงศ์ มหานิกาย (มหานิกายที่สถาปนาโดยท่านพระอุบาลีแห่งประเทศสยาม) ยังดำรงคงอยู่ถึงทุกวันนี้ แต่โดยย่อจะเรียกว่า "สยามนิกาย" ตามหลักการแล้ว คฤหัสถ์ที่สังกัดวรรณะสูงเช่น "กอยคามะ" จะเข้ารับการอุปสมบทในนิกายนี้ นิกายอัสสคีรีและมัลวัตตะแห่งเมืองแคนดีก็สังกัดอยู่ในนิกายสยามนี้เช่นกัน และยังมีนิกายย่อย ๆ และกลุ่มอื่น ๆ ที่เนื่องถึงกัน
          อีก ๓ เดือนต่อมา ประเทศสยามก็จัดส่งภิกษุอีกกลุ่มหนึ่งมายังประเทศศรีลังกาอีก เพื่อช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านเหล่านี้ คือ พระวิสุทธาจารย์ พระวรญาณมุนี พระจันทสาร พระอินทโชติ พระสุวัณณโชติ และท่านอื่น ๆ รวมทั้งหมดจำนวน ๑๒ รูป และสามเณรผู้ติดตามอีก ๒-๓ รูป ที่จะเข้ารับการอุปสมบทที่ประเทศศรีลังกา
          ในสมัยก่อนโน้น บทสวดพระปริตรได้ปฏิบัติตามธรรมเนียมตามแบบสยาม ระบบกรรมฐานชื่อวิปัสสนาธุระ (วิปัสสนาธุร) ซึ่งสูญหายไป กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมา ใหม่อีกโดยพระภิกษุชาวสยาม มีหลักฐานทางด้านศาสนาเป็นสิ่งยืนยันถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างสยาม กับศรีลังกา ในฐานะเป็นประเทศนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน ที่รู้จักกันดีเป็นพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน มิตรภาพระหว่าง ๒ ประเทศนี้ ต่อมาเริ่มจืดจางหายไป เนื่องมาจากการร่วมปลงสังหารพระเจ้าแผ่นดินศรีลังกาและการมอบพระราชบัลลังก ์ให้เจ้าชายสยาม ที่เดินทางมาศรีลังกา พร้อมกับคณะผู้แทนกลุ่มที่ ๒ ข้อบาดหมางนี้ทำให้พระเจ้าแผ่นดินศรีลังกาพิโรธขับไล่ภิกษุชาวสยามกลับแผ่นดินเดิมทันที  

           ท่านพระสรณังกร สมเด็จพระสังฆราชศรีลังกา มีพระชนมายุ ๕๕ พรรษา เมื่อได้เข้ารับการอุปสมบทจากพระอุบาลีมหาเถระ แห่งเมืองสยามแล้ว ในขณะนั้น พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงสถาปนาท่านให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งถือว่าเป็นรูปสุดท้ายเท่าที่มีอยู่ พระเจ้าแผ่นดินพร้อมข้าราชบริพารได้เสด็จไปวัดมัลวัตตะและทรงจัดให้มีการประชุมใหญ่ ทรงพระราชทานตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชถวายแด่ท่านพระสรณังกร ซึ่งท่านมีผลงานแต่งหนังสือต่าง ๆ เช่น มุนีคุณลังการ อภิสัมโพธิ อลังการ สารัตถสังคหะ วิสุทธิมรรค และตำราสำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย

* เรียบเรียงจากบทความเรื่อง "อุบาลีรำลึก สืบร่องรอยพระพุทธศาสนา 250 ปี นิกายสยามวงศ์ในศรีลังกา"  โดย  พระศรีธวัชเมธี (ชนะ ธมฺมธโช)  
 







bulletHome
dot
ค้นหาบทความ

dot
dot
Pratat Gallery
dot
bulletอัลบั้ม กิจกรรมชมรมล่าสุด
bulletกิจกรรมชมรมฯ
dot
สมัครสมาชิกชมรมรักษ์พระบรมธาตุฯฟรี/apply for membership
dot
bulletกรอกรายละเอียดสมัครสมาชิก/applying click here
dot
ติดต่อสอบถาม/contact us
dot
bulletติดต่อสอบถามคลิ๊กที่นี่/Click here
dot
ห้องพระรัตนตรัย
dot
bulletห้องพระพุทธ(ตำนานและพุทธประวัติ)
bulletห้องพระธรรม
bulletห้องพระอริยสงฆ์
bulletพระธาตุเสด็จ
dot
เว็บพันธมิตร
dot
bulletพลังจิต
bulletอุณมิลิต
dot
เว็บธรรมะ
dot
bulletหลวงปู่มั่น
bulletหลวงตามหาบัว
bulletกฎแห่งกรรมของหลวงพ่อจรัญ
bulletหลวงพ่อครูบาเจ้าเพชรวชิรมโน
bulletเว็บเพื่อพระพุทธศาสนา
bulletโลกทิพย์
bulletตามรอยพระพุทธบาท
bulletศาลาปฎิบัติกรรมฐาน
bulletลานธรรมเสวนา
bulletพระไตรปิฎกฉบับประชาชน
bulletไทยแวร์ธรรมะออนไลน์
bulletวัดจันทาราม (ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
bulletวัดพระธาตุพนม




Copyright © 2010 All Rights Reserved.