ReadyPlanet.com
dot dot
dot
พระภิกษุ​ณีองค์​แรกคือพระนางมหาปชาบดี

  พระภิกษุ​ณีองค์​แรกคือพระนางมหาปชาบดี

พระภิกษุ​ณี

พระภิกษุ​ณีองค์​แรกคือพระนางมหาปชาบดีทูลขออนุญาต​บวชแต่พระ​พุทธเจ้า​ทรงตรัสห้ามเสีย​ 3​ ครั้ง​ พระอานนท์​ทูลขออนุญาต​อีก​ 3​ ครั้ง​ พระพุทธ​องค์​จึงให้พระนางรับครุธรรม​ 8​ ข้อ​ได้ก็อนุญาต​ให้อุปสมบท​ มีดังนี้

1.พระภิกษุ​ณีแม้บวชมา​100​พรรษาต้องแสดงความเคารพต่อพระ​ภิกษุ​แม้บวชเพียงวันเดียว

2.จำพรรษาในอาวาสที่มีพระภิกษุ​

3.ต้องถามวันอุโบสถ​ และฟังคำสอนจากพระภิกษุ​สงฆ์ทุกครึ่ง​เดือน​

4.​ต้องปราวณาทั้งพระภิกษุ​สงฆ์​และพระภิกษุ​ณี​ หลังจำพรรษา

5.ต้องประพฤติ​มานัตในสงฆ์​2​ฝ่ายเมื่อต้องอาบัติ​

6.ต้องเป็นสิกขมานา​ 2ปี​ จึงขอบวชกับสงฆ์​ทั้ง​2​ฝ่ายได้

7.ห้ามด่าว่าพระภิกษุไม่ว่ากรณีใด

8.ว่ากล่าวตักเตือน​ภิกษุ​ไม่ได้​แต่ภิกษุ​ว่ากล่าวตักเตือน​ได้

สตรี​อายุ​น้อยให้บวชเป็นสามเณรี​อายุ​ครบ​ 18​ ให้บวชเป็นนางสิกขมานาถือศีลข้อ​ 1-6 เป็นเวลา​ 2​ ปี​ พระภิกษุ​ณีที่ได้รับอนุญาต​บวชให้ต้องมีพรรษา​ ไม่ต่ำกว่า​ 12​ พรรษาเรียก​ว่าปวัตตินี​ในระยะเวลา​ 2​ ปีบวชภิกษุ​ณีได้เพียง​1​รูป​พระภิกษุณี​จะต้องถือศีล​ 311 ข้อ ด้วยเหตุนี้​จึงทำให้พระภิกษุ​ณีลดน้อยลงตามลำดับ

พระพุทธ​เจ้า​ตรัส​ว่า หากให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรม พระสัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง 500 ปี แต่เมื่อบัญญัติแล้วจะทำให้มีผู้บรรลุอรหันต์ปฏิสัมภิทาได้ตลอด​1,000 ปี และยังมีผู้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลต่างๆได้ตลอด 5,000​ ปีเป็นอายุของพระพุทธศาสนา

40 ภิกษุณีพระอรหันต์ :

องค์ที่ 1 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางรัตตัญญู

องค์ที่ 2 พระเขมาเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางมีปัญญามาก

องค์ที่ 3 พระอุบลวรรณาเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางมีฤทธิ์มาก

องค์ที่ 4 พระปฏาจาราเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางพระวินัย

องค์ที่ 5 พระธรรมทินนาเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางธรรมกถึก

องค์ที่ 6 พระนันทาเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางยินดีในฌาน

องค์ที่ 7 พระโสณาเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางปรารภความเพียร --

องค์ที่ 8 พระสกุลาเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางทิพยจักขุ

องค์ที่ 9 พระภัททากุณฑลเกสาเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางตรัสรู้เร็ว

องค์ที่ 10 พระภัททกาปิลานีเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางระลึกชาติ --

องค์ที่ 11 พระภัททากัจจานาเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางมหาอภิญญา

องค์ที่ 12 พระกีสาโคตมีเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางทรงจีวรเศร้าหมอง

องค์ที่ 13 พระสิงคาลมาตาเถรี : ภิกษุณีผู้เลิศทางสัทธาธิมุต

องค์ที่ 14 พระเถริกาเถรี : ภิกษุณีผู้บรรลุอนาคามิผลก่อนบวช

องค์ที่ 15 พระมุตตาเถรี : ภิกษุณีผู้บรรลุพระอรหัตตอนเป็นสิกขมานา

องค์ที่ 16 พระปุณณาเถรี : ภิกษุณีผู้บรรลุพระอรหัตตอนเป็นสิกขมานา

องค์ที่ 17 พระติสสาเถรี : ภิกษุณีผู้เคยเป็นพระสนมของเจ้าชายสิทธัตถะ

องค์ที่ 18 พระติสสาเถรี, พระธีราเถรี, พระวีราเถรี, พระมิตตาเถรี, พระภัทราเถรี, พระอุปสมาเถรี : ภิกษุณีผู้เคยเป็นพระสนมของเจ้าชายสิทธัตถะ

องค์ที่ 19 พระมุตตาเถรี : ภิกษุณีผู้พ้นจากความค่อม 3 อย่าง

องค์ที่ 20 พระสุมนาเถรี : ภิกษุณีผู้เป็นน้องของพระเจ้ามหาโกศล

องค์ที่ 21 พระธัมมาเถรี : ภิกษุณีผู้บรรลุธรรมเพราะความชรา

องค์ที่ 22 พระชันตาเถรี : ภิกษุณีผู้หลงรูปโฉม

องค์ที่ 23 พระสุมังคลมานตุเถรี : ภิกษุณีผู้พ้นจากของ 5 อย่าง

องค์ที่ 24 พระอัฑฒกาสีเถรี : ภิกษุณีผู้อุปสมบทด้วยทูต

องค์ที่ 25 พระจิตตาเถรี : ภิกษุณีผู้บวชเมื่อแก่

องค์ที่ 26 พระเมตติกาเถรี : ภิกษุณีผู้ชนะความแก่และความมีโรค

องค์ที่ 27 พระมิตตาเถรี : ภิกษุณีผู้ต้องการเกิดในสวรรค์

องค์ที่ 28 พระอภัยมาตาเถรี : ภิกษุณีผู้มีบุตรกับพระเจ้าพิมพิสาร

องค์ที่ 29 พระอภยาเถรี : ภิกษุณีผู้เป็นสหายของพระอภัยมาตาเถรี

องค์ที่ 30 พระสามาเถรี : ภิกษุณีผู้เป็นพระสหายรักของพระนางสามาวดี

องค์ที่ 31 พระอปราสามาเถรี : ภิกษุณีผู้ใช้เวลาบรรลุพระอรหัตถึง 25 ปี

องค์ที่ 32 พระอุตตมาเถรี : ภิกษุณีผู้เป็นศิษย์ของพระปฏาจาราเถรี

องค์ที่ 33 พระทันติกาเถรี : ภิกษุณีผู้มีช้างเป็นแรงดลใจ

องค์ที่ 34 พระอุพพิริเถรี : ภิกษุณีผู้เคยเป็นพระสนมพระเจ้าปเสนทิโกศล

องค์ที่ 35 พระสุกกาเถรี : ภิกษุณีผู้เป็นนักเทศน์ของชาวราชคฤห์

องค์ที่ 36 พระเสลาเถรี : ภิกษุณีผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้าอาฬวี

องค์ที่ 37 พระโสมาเถรี : ภิกษุณีผู้มีปัญญาเกิน 2 นิ้ว

องค์ที่ 38 พระวิมลาเถรี : ภิกษุณีผู้เคยเล้าโลมพระโมคคัลลานะ

องค์ที่ 39 พระวาเสฏฐีเถรี : ภิกษุณีผู้เคยเป็นบ้า

องค์ที่ 40 พระจาลาเถรี : ภิกษุณีผู้เป็นน้องสาวของพระสารีบุตร

ขอกราบนอบน้อมพระภิกษุณีทุกๆรูปด้วยเศียร​เกล้า

ทีมงานชมรมรักษ์พระบรมธาตุแห่งประเทศไทย




เกร็ดความรู้พระธาตุ

พระธาตุ​พระปุณณเถระ​ สัณฐาน​เป็นสี่เหลี่ยม​จัตุรัส(สี่เหลี่ยม​ด้านเท่า)
เรื่องมูลเหตุของพุทธบัญญัติ​ห้ามภิกษุ​ฉันเนื้ิอมนุษย์​​
อานิสงส์​และวิธี​การถวายสังฆทานให้ผู้เสียชีวิต
เหตุแห่งการเป็นพระบรมธาตุ article
พระธาตุงอกจากองค์พระเครื่อง article
ที่มาของตำราโบราณซึ่งชมรมรักษ์พระบรมธาตุใช้จำแนกสัณฐานของพระธาตุ article
อานิสงส์การบูชาพระบรมธาตุ article
ถาม-ตอบ ที่มาของพระบรมธาตุ-พระธาตุ article
สนทนา เรื่อง พระบรมสารีริกธาตุ กับหลวงพ่อพระราชพรหมญาณ วัดท่าซุง article
ทำไมกระดูกจึงกลายเป็นพระธาตุ article
อานิสงส์การทำบุญกับพระบรมธาตุ
พระธาตุ เกิดจากอำนาจจิตพระอรหันต์ซักฟอกอัฐิให้บริสุทธิ์จนกลายเป็นพระธาตุ
พระธาตุข้าวบิณฑ์
คำบูชาพระบรมธาต​ุด้วยบทโบราณ
พระธาตุพระยโสธราเถรี พระภัททากัจจานา พระพิมพา พระยโสธราพิมพา
พระสารีบุตรสัณฐาน​กลม​เป็นปริมลฑลเลยนำประวัติตอนท่านได้รับพยากรณ์​ เป็นอัครสาวกผู้เลิศด้านปัญญา​
เมื่อมนุษย์ตายไปแล้ว มีทางไป ๗ ทาง​
พระสีวลี ประวัติ พระธาตุ และ คำบูชา
พระธาตุชานหมาก พระธรรมธาตุ หลวงพ่อพระราชพรหมญาณ วัดท่าซุง และพระธาตุเทพนิมิต ตามพระเครื่อง รูปลอยครูบาอาจารย์
คำขอขมาพระรัตน์ตรัย พระธาตุ - คำบูชา
การสรงน้ำพระบรมธาตุ พระธาตุ



bulletHome
dot
ค้นหาบทความ

dot
dot
Pratat Gallery
dot
bulletอัลบั้ม กิจกรรมชมรมล่าสุด
bulletกิจกรรมชมรมฯ
dot
สมัครสมาชิกชมรมรักษ์พระบรมธาตุฯฟรี/apply for membership
dot
bulletกรอกรายละเอียดสมัครสมาชิก/applying click here
dot
ติดต่อสอบถาม/contact us
dot
bulletติดต่อสอบถามคลิ๊กที่นี่/Click here
dot
ห้องพระรัตนตรัย
dot
bulletห้องพระพุทธ(ตำนานและพุทธประวัติ)
bulletห้องพระธรรม
bulletห้องพระอริยสงฆ์
bulletพระธาตุเสด็จ
dot
เว็บพันธมิตร
dot
bulletพลังจิต
bulletอุณมิลิต
dot
เว็บธรรมะ
dot
bulletหลวงปู่มั่น
bulletหลวงตามหาบัว
bulletกฎแห่งกรรมของหลวงพ่อจรัญ
bulletหลวงพ่อครูบาเจ้าเพชรวชิรมโน
bulletเว็บเพื่อพระพุทธศาสนา
bulletโลกทิพย์
bulletตามรอยพระพุทธบาท
bulletศาลาปฎิบัติกรรมฐาน
bulletลานธรรมเสวนา
bulletพระไตรปิฎกฉบับประชาชน
bulletไทยแวร์ธรรมะออนไลน์
bulletวัดจันทาราม (ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
bulletวัดพระธาตุพนม




Copyright © 2010 All Rights Reserved.