ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ชมรมฯถวายยอดฉัตรในองค์พระธาตุพนม จ.นครพนม article

     ชมรมรักษ์พระบรมธาตุแห่งประเทศไทยดำเนินการจัดสร้างยอดฉัตรในองค์พระธาตุพนม

                                            

                                                พระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร

               

    พระเทพวรมุนี (สำลี ปัญฺญาวโร)เจ้าคณะจังหวัดนครพนม กับยอดฉัตรมณีรัตนที่ทางชมรมฯสร้างถวาย

                

    มณฑปในองค์พระธาตุท่านเจ้าคุณพระเทพวรมุนี สร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ถวายพระราชกุศลแด่ในหลวง

                

          มณฑปอันวิจิตรสวยงามเกิดจากศรัทธาที่ท่าน ศ.ดร.สุพร ชนะพันธ์ เป็นผู้ออกแบบถวายเป็นพุทธบูชา          

   คุณปราโมช  ประสพสุขโชคมณี(ประธานชมรมฯ)มีศรัทธานำเพชรติดเป็นอุณาโลมพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ถวายเป็นพุทธบูชา

                                                                                  

 ตำนานพระอุรังคธาตุ   ๑  

                            นสมัยครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรมานอยู่สำราญในพระเชตวันอารามยามใกล้รุ่งพระอานนท์อุปัฏฐากด้วยน้ำและไม้สีฟัน เมื่อพระพุทธเจ้าเล็งเห็นโบราณประเพณีแห่งพระพุทธเจ้าทั้งสามพระองค์ที่เสด็จเข้าสู่พระนิพพานไปแล้วทรงไว้ธาตุ ในดอยกปณคิรีอันมีในที่ใกล้เมือง   ศรีโคตบุรีพระองค์จึงทรงผ้ากัมพละผืนแดงงามมีวรรณเหมือนแสงสุริยะเมื่อแรกขึ้น อันเป็นผ้าที่พระนางโคตมีได้ถวายให้เป็นทานแล้วแลทรงบาตรบ่ายหน้าสู่ทิศตะวันออก พระอานนท์ตามพุทธลีลามาทางอากาศ

  

 

 

 

 

เสด็จประทับหนองคันแทเสื้อน้ำ  ( เวียงจันทน์ )
เสด็จลงที่ดอนก่อนเนานั้นก่อน แล้วจึงมาสถิตอยู่แคมหนองคันแทเสื้อน้ำพระองค์ทอดพระเนตรแลเห็นแลนคำตัวหนึ่งแลบลิ้น ที่โพนจิกเวียงงัวใต้ปากห้วยกู่คำพระองค์จึงทำสิตุการแย้มัว ยามนั้นเจ้าอานนท์จึงไหว้ว่า พระองค์แย้มหัวด้วยเหตุสิ่งใดจา พระพุทธเจ้าจึงทรงพยากรณ์ทำนายบ้านเมืองให้เจ้าอานนท์ฟังฮู้แจ้งอนาคตตังสญาณว่าบ้านเมืองอนจักเกิดมีภายหน้าตักเสื่อม และเจริญกับทั้งท้าวพระยาประชาราษฏรมีประการต่าง ๆ ตามนิมิตแห่งแลนคำแลบลิ้นนั้นแล (พระพุทธทำนายตอนนี้เป็นตำราภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ของวงศักษัตริย์ล้านช้างยืดยาว จงดูความพิสดารในอุรังคธาตุ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2483 และฉบับในใบลาน

 

 

มูลเหตุพระธาตุบังพนพระพุทธบาทโพนฉัน (อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย)
   ครั้นพระพุทธองค์เสด็จจากหนองคันแทเสื้อน้ำไปประทับอยู่ที่โพนจิกเวียงงัว พระยาปัพภารนาคนิรมิตเป็นตาผ้าขาวออกมารับเอาบาตรและอาราธนาพระพุทธองค์ไปภูเขาลวงให้สถิตในร่มไปป่าแป้งต้นหนึ่งปัพภารนาคถวายภัตตาหารแก่พระองค์ ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว จึงประทานผ้ากัมพละผืนหนึ่งแก่พญานาคนั้นแล้วเสด็จไปฉันเพลคนทั้งหลายจึงเรียกสภานที่นั้นว่า “เวินเพล” มาเท่ากาลบัดนี้ (กลายมาเป็นโพนแพง)
       ในครั้งนั้น ยังมีพญานาคชื่อว่า “สุขหัตถีนาค” เนรมิตเป็นช้างพลายถือดอกไม้เขามาขอเอารอยพระบาทไว้ ระพุทธงค์จึงย่ำรอยพระบาทไว้ที่แผ่นหินใกล้ริมแม่น้ำชั่วเสียงช้างร้องได้ยิน ช้างตัวนั้นก็เข้าไปอุปัฏฐากด้วยยกงวงขึ้นใส่หัวแล้วก็หลีกหนีไป


มูลเหตุพระพุทธบาทเวินปลา (อำเภอเมืองนครพนม)
        แต่นั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปเมืองศรีโคตบอง ถึงที่อยู่ของพญาปลาตัวหนึ่งพญาปลาตัวนั้นเห็นพระรัศมีของพระพุทธเจ้าจึงพาบริวารล่องลอยตามไป พระพุทธองค์เห็นเหตุการณ์ดังนั้นจึงทรงแย้มพระโอษฐ์ เจ้าอานนท์ทูลถามเหตุแห่งการณ์แย้มนั้นแล้วพระองค์จึงได้ตรัสว่า ตถาคตเห็นพญาปลาตัวหนึ่งพาบริวารตามมาถึงฝั่งน้ำทีนี้ปลาตัวนี้แต่ก่อนเป็นมนุษย์ได้บวชในศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า ได้มาถึงแม่น้ำที่นี้ภิกษุนั้นได้เด็ดใบไม้กรองน้ำฉัน บ่ได้แสดงอาบัติ ครั้นใกล้จุติได้มีความกินแหนงถึงกรรมที่ได้ทำนั้น จึงได้มาเกิดเป็นปลาอยู่ในที่นี้เพื่อเสวยวิบากอันนั้น เมื่อมันได้เห็นรัศมีและได้ยินเสียงฆ้อง กลอง แส่ง จึงได้ออกมาจากที่อยู่เป็นอาจิณ ด้วยเหตุมันเคยได้เห็นรูปารมณ์ สัททารมณ์อันดีมาแต่กาลก่อน จึงได้รู้
           สัพพสัญญานั้นๆ พญาปลาตัวนี้จักมีอายุยืน ตลอดถึงพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจึงจักได้จุติจากชาติอันเป็นปลามาเกิดเป็นมนุษย์แล้วจักได้ออกบวชเป็นภิกษุในสำนักพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นและเมื่อพญาปลาตัวนั้นได้ยินพระพุทธพยากรณ์อันนี้ก็ชื่นชมยินดีมากนัก จึงคิดอยากจะได้รอยพระพุทธบาทไว้ที่โหง่นหินในน้ำที่นั้นคนทั้งหลายจึงเรียกสถานที่นั้นว่า “พระบาทเวินปลา” มาเท่ากาลบัดนี้แล
เสด็จดอยกปณคิรี (ภูกำพร้า ธาตุพนม)



 

           ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จมาทางอากาศ ประทับที่ดอยกปณคิรี คือ ภูกำพร้าในราตรีนั้นวิสสุกรรมเทวบุตรลงมาอุปัฏฐากพระองค์อยู่ตลอดรุ่ง กาลนั้นพระองค์ทรงผ้าแล้วเอาบาตรห้อยไว้ที่หง่าหมากทัน ไม้ป่าแป้ง ต้นหนึ่ง เบื้องทิศตะวันตกแล้วเสด็จลงไปสู่ริมแม่น้ำที่นั้นเพื่อชำระพระบาท บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของพระยาอินทร์ก็กระด้างแก่นแข็ง พระยาอินทร์เห็นเหตุด้งนั้น ก็เสด็จลงไปสู่ป่าหิมพานต์ นำเอาน้ำแต่สระอโนดาตและไม้สีฟันมาถวาย พระพุทธองค์ทรงชำระพระบาทแล้วก็ทรงบาตร ผินพระพักไปสู่ทิศตะวันออก เสด็จไปประทับอิงต้นฮังต้นหนึ่งอยู่ใต้ปากเซทรงทอดพระเนตรเมืองศรีโคตบองเพื่อจเข้าไปบิณฑบาตรในเมืองนั้น

           ครั้งนั้นพระยาเจ้าเมืองศรีโคตบองนั้นเป็นผู้ได้ทรงบำเพ็ญบุญสมภารกตาธิการมาแต่หนหลังเป็นอันมาก เหตุนั้นจึงได้เสวยราชสมบัติในบ้านเมืองในชมพูทวีปเป็นครั้งที่ 3 เพื่อจัดได้โชตนาพระพุทธศาสนาจึงได้เชื่อว่าพระยาศรีโคตบูร พระยาเห็นพระศาสดาเสด็จมาดังนั้น จึงทูลอาราธนาให้พระองค์ไปรับบิณฑบาตในพระราชฐาน

           เมือพระองค์ทรงรับข้าวบิณฑบาตรแล้ว ก็ส่งบาตรให้พระยาโคตบูร แล้วก็เสด็จมาประทับต้นรังดังเดิม ส่วนพระยาเมื่อรับเอาบาตรจากพระพุทธองค์แล้วก็ยกขึ้นเหนือพระเศียรทำความปรารถารแล้วจึงนำบาตรไปถวายพระองค์ที่ประทับอยู่พระพุทธองค์ทรงรับเอาบาตรแล้วก็เสด็จกลับมาทางอากาศประทับที่ภูกำพร้าดังเก่า พระยาศรีโคตบูรเมื่อทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาทางอากาศดังนั้นก็ทรงยกพระหัตถ์ขึ้นประนมทอดพระเนตรพระศาสดาจนสุดชั่วพระเนตรจึงคำนึงในพระทัยว่าอยากจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ดังนี้แล้วจึงเสด็จกลับคืนสู่พระราชนิเวศน์

           

                                                  

                                                ยอดฉัตรทองคำประดับอัญมณี

 

                                        

              งานต้นแบบก่อนหล่อด้วยทองคำ                   ยอดฉัตรทองคำ

 

       

       

         ขั้นตอนในการจัดสร้างยออดฉัตรโดยช่างที่มีประสบการณ์ในการทำเครื่องประดับอัญมณี

       

             พลอยบุษราคำ                พลอยทับทิม                    พลอยซีลอน

       

                                   ขั้นตอนการฝั่งพลอยลงในฉัตรทั้ง ๕ ชั้น และพลอยนพเก้า

 

 ตำนานพระอุรังคธาตุ   ๒

 ทรงปรารภภูกำพร้าและเมืองศรีโคตบูร
          ครั้งนั้น เมื่อพระศาสดาทรงทราบเหตุพระยาศรีโคตบูรดังนั้น จึงตรัสกับพระยาอินทร์ว่า ดูราอินทาธิราช ตถาคตมาสถิตที่นี้ราตรีหนึ่งด้วยเหตุอันใดจา พระยาอินทร์จึงทูลตอบว่า พระองค์เสด็จมาที่ภูกำพร้าราตรีหนึ่งนั้น ก็เพราะทรงอาศัยอดีตเหตุพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ มีพระกกุสนธเป็นเค้า มีพระพุทธกัสสปเป็นปริโยสาน ซึ่งเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานไปแล้วนั้น พระอัรหันต์ทั้งหลายเทียรย่อมนำเอาประบรมธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นมาประดิษฐานไว้ในภูกำพร้าที่นี้เพื่อเป็นที่ไหว้สักการบูชาของท้างพระยาเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในภายภาคหน้าอันนี้เป็นพระเพณีแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสืบ ๆ กันมาบ่ขาด
          เฉพาะที่พระพุทธองค์ทรงฉันบิณฑบาตของพระยาศรีโคตบูรนั้น คนทั้งหลายเรียกเมืองศรีโคตบอง พระยาอินทร์จึงกราบทูลว่า ผู้ข้าทั้งหลาย อินทร์ พรหม เทวบุตร เทวดาเรียกเมืองศรีโตโม เพราะเหตุพระองค์ทรงพระนามว่า “โคตม” หากให้ศรีสวัสดีแก่พระยาศรีโคตบูร ผู้ข้าทั้งหลายเรียกดังนี้ เมื่อพระยาอินทร์ทูลชอบแก่พระพุทธวิสัยดังนั้น พระองค์ก็ทรงดุษณีภาพนิ่งอยู่หั้นแล
         ในขณะนั้น เทวดามเหศักดิ์ทั้งหลาย ผู้สถิตอยู่ในราวป่าที่นั้น เมื่อได้ยินดังนั้นก็ส่งเสียงสาธุการขึ้นพร้อมกัน ภายบนถึงชั้นอกนิษฐพรหม ภายล่างถึงขอบจักรวาลเป็นที่สุด พระยาอินทร์กราบทูลดังนั้นแล้วก็เสด็จกลับคืนไปสู่ที่อยู่ของตน

 

 

 

ทรงพยากรณ์พระยาศรีโคตบูร
          ในกาลนั้น พระพุทธองค์จึงทรงพยากรณ์ให้แจ้งแก่เจ้าอานนท์ว่า ดูราอานนท์พระยาศรีโคตบูรองค์นี้จักจุติไปเกิดในเมืองสาเกตนคร อันอยู่ทิศตะวันตกเมองศรีโคตบูรจักมีนามว่า “สุริยกุมาร” เมืองศรีโคตบูรนี้ จักย้ายไปตังที่ป่าไม้รวกมีมีนามว่า “เมืองมรุกขนคร” เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว สุริยกุมารจักได้เป็นใหญ่กว่าท้าวพระยาทั้งหลายและจักได้ก่อแฮกพระพุทธศาสนาไว้ในเมืองร้อยเอ็ดประตู เมืองสาเกตนครนั้นจักเสื่อมสูญไป ตั้งแรกแต่นั้นไปพระพุทธศาสนาจึงรุ่งเรือง เสมอกับเมื่อพระตถาคตยังมีชีวิตอยู่นั้นชะแล ครั้นสุริยกุมารจุติไปจัดได้มาเอดเป็นพนาสุมิตตธรรมวงศา – มรุกขนครจักได้อภิเษกพ่อนา เป็นพระยาจันบุรีหนองคันแทเสื้อน้ำ และแฮกตั้งพระพุทธศาสนาในที่นั้น
        ดูราอานนท์ พระยาสุมิตตธรรมองค์นี้จักได้ฐปนาอุรังคธาตุของตถาคตไว้ในภูกำพร้าที่นี้ แล้วจักได้กลับไปโชตนาพระพุทธศาสนาอันแตกม้างในเมืองสาเกตร้อยเอ็ดประตูจนตลอดอายุของตนหั้นแล
ทรงพยากรณ์เมืองมรุกขนคร
      ส่วนเมืองมรุกขนครนั้น จักย้ายไปตั้งพระพุทธศาสนาใกล้ที่อยู่ของพญาปลาตัวนั้น (คือใกล้รอยพระบาทเวินปลา) แต่เมืองนั้นมออาจตั้งเป็นเอกราชอยู่ได้ดังแต่ก่อน จักเป็นเมืองน้อยขึ้นแก่เมืองใหญ่ ที่พระยาผู้มีบุญสมภารเสวยราชสมบัติ ครอบครองนั้นแล เหตุว่าตถาคตอธิฐานรอยบาตไว้ที่ก้อนหินให้แก่พญาปลาตัวนั้นเพื่อเป็นที่สักการบูาชา
      ครั้นพระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ดังนี้แล้ว จึงผินพระพักตร์เมืองจุฬณีพรหมทัตและเมืองอินทปัฐนคร ขณะนั้นพระอานนท์มีสงสัยว่า พระองค์จักเสด็จเมืองทั้งสองนั้นหรือ ๆ ว่าบาเสด็จไปหนอ จึงกราลทูลว่า เมื่อพระองค์เสด็จจากภูกำพร้าที่นี้แล้วจะเสด็จไปที่ใดจา พระพุทธองค์จึงตรัสว่า จากที่นี้แล้ว เราตถาคตจักไปชุมรอยบาที่หนองหารหลวงนั้นก่อน แล้วในเมืองหนองหารหลวงนั้นมีพระยาองค์หนึ่งนามว่า “พระยาสุวรรณภิงคาร” เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองนั้น
สด็จถึงแม่น้ำพุง (เขต อ.เมืองสกลนคร)
        ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จไปตามมรรคาถึงแม่น้ำสายหนึ่ง อันอยู่ระหว่างทางยังมีนาคตัวหนึ่งชื่อว่า “โธทนนาค” เคยเป็นเชื้อวงศ์พระยาศรีสุทโธทนมาแต่ชาติเมื่อเป็นมนุษย์ เมื่อเวลาจะตายมีจิตโกรธกล้า จึงได้มาเกิดเป็นนาคเลาะเรียบหากินปลาตามริมแม่น้ำ พระพุทธองค์ทรงทราบเหตุอันนี้ จึงตรัสว่า ดูราโธทนนาคเอยท่านอย่าได้ถือหาบอันหนักซ้ำเติมหาบอันเก่าให้หนักขึ้นเทอญ
         เมื่อพญานาคได้ยินดังนั้น จึงฮำเพิงในใจว่า บุคคลผู้ใดมาฮู้จักเชื้อชาติแห่งกูและตักเตือนกูสันนี้หนอ กูควรเข้าไปดูให้ฮู้ คำนึงดังนี้แล้ว จึงเข้าไปใกล้พระพุทธองค์พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ดูรานาคเอย ท่านมาหาเราเพื่อจะปลงหาบอันหนักหรือ เราจะปลดเสียยังทุกข์ให้ท่านได้ถึงสุข เมื่อพญานาคได้ยินดังนั้นแล้ว ก็มีจิตใจเบิกบานชื่นชมยินดียิ่งนัก จึ้งเข้าไปกราบแทบบาทมูลของพระศาสดา แล้วก็ได้ตังอยู่ในพระไตรสรณาคมน์ ครั้นจุติจากชาติอันเป็นนาคก็ได้ไปบังเกินในชั้นดาวดึงส์นามปรากฏว่า โธทนนาคเทวบุตร ตามวงศาแห่งตน แม่น้ำที่นาคอาศัยอยู่แต่ก่อนนั้นคนทั้งหายเรียกน้ำนำพุงมาเท่ากาลบัดนี้แล
เสด็จประทับหนองหารหลวงประทานรอยพระบาท
         เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากที่นั้นแล้ว ก็เสด็จไปสู่เมืองหนองหารหลวง พระยาสุวรรณภิงคาร เห็นพระศาสดามาดังนั้น จึงทูลอาราธนานิมนต์เข้ไปฉันที่หอปราสาท เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภัตกิจสำเร็จแล้ว ก็เทศนาสั่งสอนพระยาสุวรรณภิงคาร แล้วจึงเสด็จลงจากปราสาทไว้รอยพระบาทในที่นั้นต่อหน้าพระยาสุวรรณภิงคาร แล้วทรงทำปาฏิหาริย์ให้เป็นแก้วออกจากพระบาททั้ง 2 พระบาทละลูกโดยลำดับ ซ้ำทรงทำปาฏิหาริย์ให้ออกมาอีกลูกหนึ่ง เมื่อพระยาสุวรรณภิงคารทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็บังเกิดอัศจรรย์ใจยิ่งนักว่า เหตุใดหนอ แก้วจึงออกมาจากพระบาทพระศาสดาได้นี้จา
        ในขณะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูรามหาราช สถานที่นี้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ แก้วจึงออกมาจากที่นี้ 3 ลูก คือ รอยพระบาทของพระพุทธเจ้ากกุสนธ โกนาคมน และกัสสป พระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นี้ได้เสด็จไปรับบิณฑบาตในเมืองศรีโคตบูร แล้วมาฉันที่ภูกำพร้าจึงเสด็จมาประดิษฐานรอยพระบาทไว้ด้วยเหตุอันใด
        พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูรามหาราช ที่เป็นบ้านเป็นเมืองตั้งพระพุทธศาสนาอยู่นั้น แม้มีเหตุควรไว้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไปไว้ด้วยเหตุเป็นที่หวงแหนแห่งหมู่เทวดาและพญานาคทั้งหลาย และบ้านเมืองก็จักเสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเทียรย่อมไว้ยังรอยพระบาทไกลบ้านเมือง พระพุทธสาสนาก็จักตั้งอยู่ก้ำท้ายเมืองและหัวเมืองเมื่อพระพุทธเจ้า ได้ไว้จิตแก้ว กล่าวคือรอยพระบาทที่ท้ายเมืองทิศใต้นั้นพระพุทธศาสนาจักตั้งรุ่งเรืองในเมืองนั้นก่อน แล้วจึงย้ายห่างมาใต้ตามรอยพระบาท เมื่อไว้จิตแก้วก้ำหัวเมือง พระพุทธศาสนาก็จักตังในเมืองนั้นแล้วจึงย้ายห่างไปทางเหนือที่รอยพระบาทอันพระพุทธเจ้าได้ประดิษฐานไว้นี้ก็ไป่ตั้งเมืองคนทั้งหลายจึงจักตั้งอยู่เป็นปกติ
         ส่วนเมืองหนองหารหลวงนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าได้มาสุมรอยพระบาทไว้สมัยพระยาองค์ใดเสวยราชสมบัติ พระยาองค์นั้นเสวยราชสมบัตินั้น พระยาองค์นั้นได้สร้างบุญสมภารมาแล้วตังแสนกัลป์ทุก ๆ พระองค์ ถึงเมืองหนองหารน้อยก็ดุจเดียวกัน และทั้งสองเมืองนี้เมื่อตั้งก็เกิดพร้อมกัน ด้วยเหตุที่เสด็จมาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นสิ้นชั่วพระยาทั้งสองเมืองนี้เทวดาและนาคทั้งหลายที่รักษาหนองหารหลวงและหนองหารน้อย ก็จักได้ให้น้ำไหลนองเข้ามาหากัน ท่วมรอยพระบาทและบ้านเมือง คนทั้งหลายจึงได้แยกย้ายกันไปตังในราชธานีใหญ่ ที่พระพุทธะศาสนาตั้งรุ่งเรืองอยู่นั้น 
        เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จเข้าสู่นิพพานไปแล้วพระอรหันต์ทั้งหลายจักได้นำเอาพระธาตุพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ริมแม่น้ำธนนที ราชธานีบ้านเมืองพระพุทธศาสนาจักรุ่งเรื่องไปตามริมแม่น้ำอันนั้นเมืองฝ่ายเหนือกลับไปตั้งอยู่ฝ่ายใต้ ฝ่ายใต้กลับไปตั้งอยู่ฝ่ายเหนือ เมืองที่ตั้งอยู่ท่ามกลางนั้นประเสริฐมีอานุภาพยิ่งนัก ท้าวพระยาทั้งหลายที่มีบุญสมภารจักได้เสวยราชสมบัติ บ้านเมือง อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นสิ้นพระพุทธศาสนาแล้ว ราชธานีบ้านเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำฝ่ายเหนือ กลับไปฝ่ายเหนือก็เมืองราชธานีที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเทียวบิณฑบาต เป็นต้นว่า เมืองศรีโคตบองก็กลับมาตั้งอยู่ที่เก่าเมืองราชธานีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางนั้น ก็กลับมาตั้งอยู่ริมหนองหารดังเก่า เพื่อรอท่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
        ครั้งนั้น ท้าวพระยาทั้งหลายที่มีบุญสมภารก็บังเกิดขึ้นตามราชธานีนั้น ๆ อันนี้หากเป็นจารีตประเพณีสืบ ๆ มาแห่งแม่น้ำธนนที พระพุทธศาสนาก็จักตังอยู่แต่ทิศเบื้องเหนือและทิศเบื้องใต้และทิศตะวันตกและทิศตะวันออก ไปตามริมแม่น้ำอยู่เป็นปกติ
         ดูรา
หาราช ตถาคตเทศนาศาสนาแลนครนิทาน ดังกล่าวมาแล้ว เหตุนั้นจึงได้ว่าไป่มีคนอยู่ในหนองหาร ถึงแม้ว่ามีคนอยู่ในรมหนองหารทั้งสองนั้น ท้าวพระยาที่มีบุญสมภารเป็นเอกราชนั้นจักตั้งอาณานิคมในพระพุทธศาสนาอันใหญ่นั้นก็ไป่มีเท่ามีก็เป็นแต่ปัจจันตพระพุทธศาสนาตามกาลสมัยนั้นแลเมื่อพระยาสุวรรณภิงคารได้ทรงสดับรัตนปัญหาดังนั้นก็ทรงโสมนัสซาบซึ้งในพระขันธสันดานยิ่งนักและมีพระทัยปรารถนาจะตัดพระเศียรบูชารอยพระพุทธบาททันใดนั้นพระนางเทวีได้ทูลห้ามไว้าว่า เมื่อมหาราชยังมีพระชนม์อยู่จักได้สร้างพระราชกุศลเพิ่มเติมต่อไปไป่ควรที่พระองค์จะมาทำเช่นนี้เมื่อพระยาได้ทรงสดับถ้อยคำพระนางเทวีห้ามดังนั้นจึงถอดมงกุฏออกบูชาพระศาสดาซ้ำตรัสเทศนาโปรดเป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้พระยามีศรัทธาอาจหาญในธรรม (ดูความพิสดารในคัมภีร์อุรังคธาตุ)

 

 

                            

                                                   

 

                                                        ฉัตรมณีรัตน ในองค์พระธาตุพนม

 

          

                                            ขั้นตอนในการฝั่่งพลอย และแต่งฉัตรในแต่ละชั้น

 

           

                                           ประกอบดูความเรียบร้อย ก่่อนจะดำเนินการขั้นต่อไป

 

            

           ทางชมรมฯนำฉัตรให้ท่านเจ้าคุณวัดพระธาตุพนม และ ท่าน ศ.ดร.สุพร ชนะพันธ์ ชมความสวยงาม 

 

 

 

 

 

 

 

สร้างพระธาตุเชิงชุม
       พระยาสุวรรณภิงคารพร้อมด้วยพระราชเทวีได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาพระบาทลักษณ์และอปริหานิยธรรม อันพระศาสดาตรัสเทศนาดังนั้น ก็ทรงบีติปราโมทย์ยิ่งนัก แล้วทรงสร้างอุโมงค์ด้วยหิน ปิดรอยพระบาทพร้อมทั้งมุงกุฏเหตุนั้นจึงพากันเรียก “พระธาตุเชิงชุม” มาเท่ากาลบัดนี้
ทรงตรัสปรารภบริโภคเจดีย์
        พระศาสดาตรัสเทศนาแกพระยาสุวรรณภิงคารว่า ที่ใดตถาคตได้ลงจากอวกาศและสถิตอยู่ได้เห็นเหตุอันใดอันนึ่ง แล้วทำนายนั้นเป็นกงจิตแก้วอันหนึ่งและที่ลมไม้อันตถาคตฉันข้าวนั้น ก็เป็นกงจิตแก้วอันหนึ่ง พงศ์ทั้งสองนี้เรียกว่า “โชติกเจดีย์” พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองในที่นั้น ที่ตถาคตได้ไสยาสน์และบิณฑบาตมาฉันที่นั้นเป็นพงศ์แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเสอมด้วยดอยสิงคุตร (ธาตุย่างกุ้ง) ที่ตถาคตยืนทรงบาตรยืนอิงต้นไม้นั้นเป็นพงศ์อันหนึ่ง และเมื่อว่าตถาคตได้หมายกงจิตแก้วที่ใด ต่อไปภายหน้าโพ้นโชติกเจดีย์บังเกิดขึ้นในที่นั้น ดูรามหาราช เจดีย์ที่ก่อโลมบาทเชิงชุมยัดนี้ ปัจจุบันอัปปเจดีย์ ไป่รุ่งเรืองภายหน้า
เสด็จไปประทับดอยแท่น
       ครั้นพระพุทธองค์ ทรงเทศนาแก่พระยาสุวรรณภิงคารดังนั้นแล้ว จึงเสด็จขึ้นดอยลูกหนึ่งข้างในเป็นดังคูหา คนทั้งหลายขึ้นไปดอยลูกนั้น มองเห็นหนองหารหลวงและหนองหารน้อยมองเห็นเมืองศรีโคตบูรและภูกำพร้า พระยาสุวรรณภิงคารให้สังวาลย์ทองคำหนัก 300,000 (สามแสน) เป็นทานแก่คนทั้งหลายที่มีกำลังก่อแท่นด้วยหินมุกเป็นปัจจุบันโดยพลัน และพระองค์ก็เสด็จขึ้นพรแท่นระลึกถึงพระมหากัสสปเถร ก็มาเฝ้า พระพุทธองค์ตรัสแก่ พระมหากัสสปเถรเป็นภาษาบาลีว่า “อุรงฺคธาตุกสฺสป กปรคิริ อปฺปตฺตรา” ดังนี้ แล้วจึงผินพระพักตร์เฉพาะซึ่งภูกำพร้า ตรัสว่า ดูรากัสสป ตถาคตนิพพานไปแล้วเธอจงนำอำอุรังคธาตุตถาคตไว้ที่ภูกำพร้า อย่าได้ละทิ้งคำตถาคตสั่งไว้นี้เสีย พระมหากัสสปเมื่อได้ยินดังนั้น ก็ชื่นชมยินดียกอัญชุลีขึ้นว่า สาธุ สาธุ ดังนี้ และก็กลับไปสู่ที่ของตน
เสด็จประทับภูกูเวียน
        ครั้นแล้วพระพุทธองค์ก็กลับคืนมาสถิตอยู่ภูกูเวียน ทรงเปล่งรัศมี ให้เข้าไปในเมืองนาคู่ปเวียน ขณะนี้สุวรรณนาคได้เห็นพระรัศมี จึงออกมาจากแม่น้ำขึ้นไปสู่ยอดเขาพ่นพิษออกมาเป็นควัน เขาลูกนั้นก็มืดมัวไปทั้งสิ้น พระพุทธองค์เห็นดังนั้นก็ทรงเข้าเตโชกสิณเป็นเปลวไฟ ไปเกี่ยวพันสุวรรณนาคกระเด็นไปในน้ำปู่เวียนเปลวไฟก็ผุดแต่พื้นน้ำขึ้นมาไหม้เมืองนาคตลอดไปถึงหนองบัวบาน ซึ่งเป็นที่อยู่ของพุทโธปาปนาค นาคทั้งหลายมาล้อมถูกูเวียนนั้นไว้
ทรงทรมานพวกนาค
         ในขณะนั้น พระศาสดาประทับทำสมณธรรมอยู่ ณ ที่นั้น นาคทั้งหลายจึงกระทำอิทธิฤทธิ์ เป็นเปลวไฟพุ่งขึ้นมาหาพระพุทธองค์ เปลวไฟนั้นก็กลับคืนมาไหม้นาคทั้งหลายเหล่านั้น แล้วกลับไปเกิดเป็นดอกบัวบูชาพระศาสดานาคทั้งหลายเหล่านั้นจึงแวดล้อมพระพุทธองค์ไว้ เพื่อให้พุทโธปาปนาคทำอิทธิฤทธิ์พังทลายที่ประทับ พระพุทธองค์ทรงเข้าปฐวีกสิณ ที่ประทับก็บังเกิดแท่นแข็งงดงามยิ่งนัก นาคทั้งหลายกระทำอิทธิฤทธิ์ทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อทำลายพระแท่นและพระพุทธองค์ ก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายพระพุทธองค์ได้ มันซ้ำกระทำอิทธิฤทธิ์ให้เป็นเปลวไฟเข้าไปทำลายอีก พระศาสดาทรงเข้าวาโยกสิณ เป็นลมพัดกลับไปไหม้นาคทั้งหลายเหล่านั้นแล้วพระศาสดาก็เสด็จไปบนอวกาศนาคทั้งหลายเห็นดังนั้นก็ทำอิทิฤทธ์โก่งหลังขึ้นไปเป็นหมู่นาคตามล้อมพระศาสดาพระองค์ทรงนิรมิตให้หัวนาคทั้งหลายเหล่านั้นขาดตกลงมา นาคทั้งหลายเห็นดังนั้น ก็มีความเกรงกลัวอานุภาพของพระศาสดายิ่งนัก
ทรงสั่งสอนหมู่นาค
       พระศาสดาทรงรู้แจ้งดังนั้นก็เสด็จกลับลมมาประทับ ณ ที่เก่า นาคทั้งหลายจึงพร้อมกันเข้าหาพระศาสดา พระองค์จึงตรัสว่าท่านทั้งหลายจงบรรเทาเสียยังพยาธิต่อมผีอันเจ็บป่วดกล่าวคือหัวใจแห่งท่านทั้งหลายตถาคตจักรักษาให้หายยังพยาธินั้นนาคทั้งหลายได้ฟังพระพุทธพจน์ดังนั้นก็มีใจชื่นบาน พร้อมกันเข้ามากราบแทบพระบาทพระศาสดาก็ทรงตรัสเทศนาสั่งสอนหมู่นาคทั้งหลาย ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ มีเมตตากรุณาแก่มนุษย์ทั้งหลาย มีปริยายต่าง ๆ
เสด็จไปประทับดอยนันทกังฮี
         ครั้นแล้วพระศาสดาก็เสด็จไปสู่ดอยนันทกังฮีซึ่งเป็นที่อยู่ของนางนันทยักษ์แต่ก่อนมีนาคตัวหนึ่ง 7 หัว “ศรีสัตตนาค” เข้ามาทูลขอให้พระศาสดาทรงย่ำรอยพระบาทไว้ในดอยนันทกังฮี พระศาสดาก็เสด็จย่ำรอยพระบาทไว้ ณ ที่นั้น ทรงก้าวพระบาทข้ามตีนดอยก้ำขวาแล้วทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์กราบทูลถาม
ทรงทำนายเมืองศรีสัตตนาค

   พระศาสดาทรงตรัสว่า เราเห็นนาค 7 หัวเป็นนิมิต ต่อไปภายหน้านี้จักบังเกิดเป็นเมืองนามว่า “เมืองศรีสัตตนาค” และที่พญานาคได้ให้ความสวัสดีแก่พระยาจันทบุรีนั้นจักรกร้างเสื่อมสูญ
ทรงเหยียบรอบพระบาทไว้ใกล้ดอยนันทกังฮี
พระพุทธองค์ได้เสด็จลงไปไว้รอยพระบาทที่แผ่นหินอันจมอยู่กลางแม่น้ำเบื้องซ้ายดอยนันทกังฮี ซึ่งคนทั้งหลายไม่สามารถจะมองเห็นได้แล้วจึงเสสด็จไปบนดอยนันทกังฮีอธิษฐานให้เป็นรอยเกิบบาททับหงอนนาคไว้ซึ่งพญาศรีสัตตนาคได้สมมุติดอยนันทกังฮีให้เป็นหงอนแห่งตนเพื่อบ่ให้ท้าวพรยาในเมืองนั้นทำยุทธกรรมกัรจักแพ้พระพุทธศาสนาบ้านเมือง
เสด็จกลับพระเชตวัน
       ครั้นแล้ว พระศาสดาก็เสด็จจากดอยนันทกังฮีไปสู่พระเชตวันอารามดังเก่า ครันอยู่ต่อมาในกาลวันหนึ่งหมู่ง้วนก็มาถึงแก่พระองค์จึงตรัสถามพระอานนท์เป็นอุบายว่า ดูราอานนท์ วิหารหลังเก่าเราจะปฏิสังขรณ์อยู่ไปก่อนดีหรือๆว่าไม่ดีพระอานนท์ทูลว่าสร้างใหม่อยู่ดี แล้วพระองค์จึงตรัสว่า บัดนี้พระองค์จะเข้าสู่นิพพานอานนท์เห็นว่าเมืองใดใหญ่ พระอานนท์ก็กราบทูลว่าเมืองราชคฤห์เป็นเมืองใหญ่ แล้วพระองค์จึงตรัสว่า ตถาคตจักไปนิพพานมนเมืองกุสินารายเพื่อโปรดโสตถิยพราหมณ์ พราหมณ์คนนี้เมื่อครั้งก่อนได้เอาหญ้าคา 8 กำมือมาปูให้ตถาคตนั่งก็บังเกิดเป็นแท่นแก้วเป็นที่ตรัสรู้
ทรงปรารภเมืองกุสินารายในอดีต
   ดูราอานนท์ครั้นก่อนตถาคตได้เป็นพระยาสุทัศนจักรวรรดิราช เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองนั้น (กุสินาราย)กงจักรแก้วมรีโชติก็บังเกิดขึ้นในเมืองนั้นเมืองกุสินารายเดี๋ยวนี้เป็นที่นิพพานแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายในระหว่างต้นไม้รัง
ทรงปรารภพระเจดีย์
        ดูราอานนท์ เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ใครผู้ใดมีความระลึกถึงตถาคตเอาแก่นไม้รังที่ตถาคตบริโภคนั้นมาสร้างเป็นรูปตถาคตไว้ เมื่อบุคคลผู้ใดยังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร สามารถที่ปิดเสียซึ่งประตูอบายได้ด้วยเหตุว่าเป็นพุทธบริโภค 2 ชั้น หรือว่าเอาแก่นไม้ป่าแป้งที่ตายแล้วมาสร้างเป็นรูปตถาคตก็ฉันเดียวกัน
         เหตุว่าไม้ทั้งสองนี้ตถาคตได้บริโภคเป็นต้นไม้อันประเสริฐ พระศาสดาตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จไปสู่เมืองกุสินารายทรงอาเจียนออกเป็นโลหิต พระอานนท์เห็นดังนั้นจึงไปหานำมาถวายพระพุทธองค์ นำในที่นั้น ๆ ขุ่นเป็นตมไปเสียทุกแห่ง ไป่ได้นำที่ใดมาถวาย ทันใดนั้นพระอานนท์จึงกราบทูลให้ทรงทราบเหตุการณ์วิปริตนั้น พระองค์จึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูราอานนท์ เธออย่าได้ไปแสวงหาน้ำนั้นเลย ถึงจะไปหาที่ใด ๆ ก็ดี น้ำที่ใสอยู่ก่อนจักขุนสิ้นไปทุกแห่งนั้นแล

ทรงปรารภบุรพกรรมของพระองค์
        ดูราอานนท์เอย เมื่อชาติก่อนตถาคตได้เป็นพ่อค้าเกวียนเกินทางมา วัวเกวียนอยากกินน้ำ นำใสมีอยู่ในที่ไกล ความเกียจคร้านกับความรีบร้อนจะเดินทางไปข้างหน้ามีอยู่เฮาจึงนำวัวไปกินน้ำขุ่นในที่ใกล้ เวรอันนั้นยังเศษเหลือไปสิ้น จึงตามมาสนองแก่เฮาในบัดนี้ เมื่อพระอานนท์ได้ทรายดันนั้น ก็ไปตักเอานำมาถวาย นำก็ใสเป็นปกติดังเก่า เป็นที่นาอัศจรรย์ยิ่งนัก
ทรงปรารภพระธรรมวินัย
       ครั้นแล้วพระศาสดาก็เสด็จลีลาไปจากที่นั่นไปสู่เมืองกุสินารายณ์ ประทับไสยาสน์บันทมระหว่างไม้รัง 2 ต้น แล้วตรัสกับเจ้าอานนท์ว่า ดูราอานนท์เอ่ย พระธรรมวินัย 84,000 พระธรรมขันธ์ ที่ตถาคตเทศนาไว้นั้น เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วตถาคตไว้พระพุทธศาสนา 5000 พระวรรษา เพื่อเป็นที่ไหว้นบสักการบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย พระธรรมวินัยนั้นและจะเป็นครูอาจารย์สั่งสอนสู่ท่านทั้งหลาย เสมอด้วยตถาคตยังทรมานอยู่ บุคคลผู้มีศรัทธาปัญญาเป็นกุศล ได้ปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัยที่ตถาคตสั่งสอนไว้นั้น หรือสร้างสถูปเจดีย์วิหารและรูปตถาคตตั้งไว้และกราบไหว้บูชาบำเพ็ญศีลภาวนาไปบ่ขาด แม้ปรารภนาเอาโลกิยะและโลกุตระสมบัติก็เทียรย่อมจักได้สมความมักสมความปรารถนาทุกประการชะแล ประดุจดังว่า ไฟอันดับมอดแล้วผู้มีปัญญาเอาไม้มาสีกันเข้า เพื่อให้เกิดเป็นไฟ (ก็เกิดเป็นไฟขึ้นดังปรารถนานั้นแล)
       อีกนัยหนึ่ง เป็นประดุจดังบุคคลเอาแก้วสุริยกันตะมารอบแสงตะวัน เพื่อให้เกิดเป็นไฟติดชนวนแล้วจุดต่อ ๆ กันไปเป็นไฟใหญ่ เพื่อให้สำเร็จในสรรพกิจการนั้น ๆ
      อีกนัยหนึ่ง ประดุจดังอ้อยมีโคนอันขาดแล้ว บุคคลปรารถนาในรสอันหอมหวานเอามาชำไว้ในที่ชุ่มให้แตกเป็นหน่อกอลำขึ้น จนมีรสหวานมีใบอันคมฉันใด
      แม้ตถาคตนิพพานไปแล้วก็ตาม พระพุทธศาสนาก็ยังจักตั้งอยู่เป็นปกติตลอด 5,000 พระวรรษา พระพุทธศาสนานี้เปรียบประดุจดังสระน้ำอันตั้งอยู่เหนือแผ่นดินถึงแม้ว่าน้ำจะเหือดแห้งไปก็ตาม เมื่อถึงฤดูกาลฝนตกลงมีน้ำขึ้นในสระนั้น พรรณอกไม้ทั้งหลายในสระนั้นเป้ฯต้นว่าดอกบัวหลวงแลบุณฑริก ก็จักบังเกิดขึ้นในสระนั้นฉันใด พระพุทธศาสนาก็ฉันนั้น เมื่อบุคคลมีความเพียรกระทำกัมมัฏฐาน ก็จักได้ถึงมรรคผลนั้น โดยลำดับ
      ผิว่าไป่ได้ถึงในชาตินี้ เมื่อจุติไปได้บังเกิดเป็นเทวดา ได้สดับธรรมเทศนาจากธรรมกถึกเทวบุตร ก็จักได้ (มรรคผล) ในสำนักนั้นสูท่านทั้งหลายจงกระทำกัมมัฏฐานอย่าได้ขาดเทอญ
ทรงปรารภการบูชาแล้วนิพพาน
      ดูราอานนท์เอย บุคคลบุชาตถาคตและศาสนาที่ตถาคตตั้งไว้ด้วยดอกไม้ธูปเทียนนั้นเชื่อว่า มิได้บูชา ส่วนบุคคลบูชา ได้ชื่อว่าบูชานั้น ตถาคตจะสั่งเธอไว้ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ก็ตาม ที่ปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งสอนของตถาคต ถึงแม้ว่าจะไม่มีเครื่องสักการะก็ตาม เป็นแต่เพียงมีจิตเลื่อมใน เชื่อในคุณพระรัตนตรัยไหว้นบแต่มือเปล่า ๆ ก็ได้ชื่อว่าบูชาอันประเสริฐยิ่งกว่าประเสริฐ เมื่อพระองค์ตรัสสั่งกับพระอานนท์ดังนี้แล้ว จึงทรงอธิษฐานว่าเมื่อใดกัสสปยังไปมารับเอาอุรังคธาตุ ตถาคตไปไว้ที่ดอยกปณคิรี ไฟธาตุอย่าได้ไหม้ตถาคต ทรงอธิษฐานแล้วก็เสด็จเข้าสู่นิพพาน
กษัตริย์มัลลราชจัดการพระบรมศพ
       ครั้งนั้น กษัตริย์มัลลราชทั้งหลาย ได้ทราบซึ่งเหตุว่า พระศาสดาเสด็จเข้าสู่นิพพานก็พร้อมกันมาสักการบูชาโสรจสรงพระบรมศพ (ด้วยน้ำสุคนธรสของหอม) และเชิญพรบรมศพเข้าพระหีบทอง ประดิษฐานไว้บนเชิงตะกอน แล้วทำการถวายพระเพลิงเป็นหลายครั้งหลายหน เพลิงก็ไม่สามารถทำลายพระบรมศพได้ ทันใดนั้นพระมหากัสสปเถระก็มาถึงและเข้าไปทำการสักการะ ขณะนั้นพระศาสดาทรงทำการปฏิหารให้พระบาทเบื้องขวายื่นออกมาจากพระหีบทอง เพื่อให้พระมหากัสสป (ได้) กระทำสักการะ
พระอุรังคธาตุทำปาฏิหารย์
       ในขณะนั้นพระอุรังคธาตุที่หุ้มห่อดวยผ้ากัมพลก็ปาฏิหาริย์เสด็จออกจากพระหีบทองมาประดิษฐานอยู่เหนือฝ่ามือเบื้องขวาของพระมหากัสสปเถระอัครสาวกทันใดนั้นไฟธาตุก็บักเกิดลุกเป็นเปลวขึ้น ทำลายสรีระของพระศาสดา
พระธาตุที่เหลือจากไป
       ส่นพระบรมธาตุกระโบงหัวนั้น ฆฏิการพรหมนำเอาไปประดิษฐานไว้ในพรหมโลก   พระธาตุแข้วหมากแง (พระเขี้ยวแก้ว) โทณพราหมณ์เอาซ่อนที่มวยผมพระอินทร์นำเอาไปประดิษฐานไว้ในชั้นดาวดึงส์พระธาตุกระดูกด้ามมีดนั้น (พระธาตุรากขวัญ) พญานาคนำเอาไปประดิษฐานไว้ที่เมืองนาค พระบรมธาตุที่ออกนามข้างบนนี้มิได้เป็นอันตรายด้วยเพลิงยังปกติอยู่ตามเดิม  ส่วนพระบรมธาตุนอกนั้นย่อยยับไปเป็น  3  ขนาด  ขนาดใหญ่เท่าเมล็ด(ถั่วแตก) ขนาดที่ 2 เท่าเมล็ดข้าวสารหัก ขนาดที่ 3 ขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด พระยาอชาติศัตรูนำเอา ไปประดิษฐานไว้ในถ้ำสัตตปัณคูหา (กษัตริย์นครอื่น ๆ ก็ได้รับแบ่งนำไปประดิษฐานไว้ ณ นครของตน ๆ ส่วนอุรังคธาตุนั้น พระมหากัสสปเถรเจ้า จักนำไปประดิษฐานไว้ ณ ดอยกปณคิรี ในแขวงเมืองศรีโคตบุรี ตามคำสั่งพรพุทธเจ้าได้สั่งไว้เมื่อก่อนนั้นแล
ข่าวการเสด็จปรินิพพาน
       ครั้งนั้นท้าวพระยาทั้งหลาย มีพระยาจุฬณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร พระยานันทเสน พระยาสุวรรณภิงคาร และพระยาคำแดง รู้ข่าวว่าพระมหมกัสสปเถรเจ้าจักนำเอาพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้าดังนั้น พระยาจุฬณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร และพระยานันทเสนทั้ง 3 พระองค์ พร้องด้วยไพร่พลโยธาเสด็จมาประทับพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำธนที ใต้ปากเซที่นั้น จึงตรัสสั่งไพรพลโยธาทั้งหลายองค์ละ 500 คน สกัดหินมุกมาสร้างอารามไว้คอยท่านพระมหากัสสปเถรเจ้า

 

 

 

                          

 

           

 

       พระเทพวรมุนี (สำลี ปัญฺญาวโร)เจ้าคณะจังหวัดนครพนม กับยอดฉัตรมณีรัตนที่ทางชมรมฯสร้างถวาย

 

        

                        คณะชมรมฯได้นำฉัตรมณีรัตนเดินทางจากกรุงเทพฯถึงวัดพระธาตุพนม

        

            ช่วงเช้ามีขบวนอัญเชิญฉัตร  ฉลองสมณศักดิ์ท่านเจ้าคุณพระเทพวรมุนี รอบองค์พระธาตุพนม

            

            คุณปราโมช ประสพสุขโชคมณี ร่วมถ่ายภาพคณะชมรมฯและคณะจัดงานในครั้งนี้้

 

        

     ท่านเจ้าคุณพระเทพวรมุนีและท่าานพลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ เป็นประธานในการยกฉัตรในครั้งนี้

       

          ฉัตรมณีรัตนได้ยกอัณเชิญขึ้นยอดพระธาตุพนมเพื่อเชิญเข้ายกไว้ยอดมณฑปในองค์พระธาตุพนม

 

                     คุณประดิษฐ์ เป็นผู้ที่เริ่มต้นในการบูรณะวัดพระธาตุุพนมอัญเชิญฉัตรมามอบให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม

 

       

             คณะคุณสรพงษ์  ชาตรี ถวายมาลัยและสร้อยทองเป็นพุทธบูชา ร่วมกันอธิฐานจิตที่ยอดมณฑป

         

                       ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมยกฉัตรขึ้นยอดมณฑปแล้วได้ถวายอัญมณีเป็นพุทธบูชา

 

                

         มณฑปรัตนมณีในองค์พระธาตุพนม

   มณฑปรัตนมณีพุทธศิลป์ที่ทรงคุณค่าถวายเป็นพุทธบูชาเพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                     

 

                                                  

                                    

        

             

 

         

 

 

 

 

 

 

         พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองจารึกซึ่งจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์มาบูรณะใน พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ ว่า "ธาตุปะนม" เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุ   พระอุรังคธาตุ ( กระดูกส่วนพระอุระ ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรูปทรงสี่เหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์ มีความหมายทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน ๕๓ เมตร ฉัตรทองคำสูง ๔ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยห่างจากแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทยประมาณ ๕๐๐ เมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร

       ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตบูรกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ อันมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประมุข
       ลักษณะการก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปะ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรง มีประตูเปิดทั้ง สี่ด้านเมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัสสปะเถระนำมาจากประเทศอิเนเดีย ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้งสี่ด้าน แต่ยังไม่ปิดยังเปิดให้คนเข้าไปสักการะบูชาได้อยู่บางโอกาส ในตำนานบอกว่า "ยังมิได้ฐานปนาให้สมบูรณ์" นี้ก็หมายความวว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุให้มิดชิดนั่นเอง พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐

 

 

 

      ท้าวพญาทั้ง ๕ ผู้มาเป็นประมุขประธานในการก่อสร้างพระธาตุพนมในครั้งนั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ คือ
           ๑. พญาจุลณีพรหมทัค ครองแคว้นจุลมณี ก่อด้านตะวันออก
           ๒. พญาอินทปัตถนคร ครองเมืองอินทปัตถนคร ก่อด้านตะวันตก
           ๓. พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก
           ๔. พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ
           ๕. พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหานหลวง ก่อขึ้นรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี


    องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคต่อมาเป็นลำดับ โดยสังเขปดังนี้

     ๑. การบูรณะครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์ เป็นประธาน ในการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ๒๔เมตร(
สันนิษฐานตามลักษณะก้อนอิฐหลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังลง)อัญเชิญพระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิมซึ่งทำการบรรจุตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์ ( เวลานี้พบแล้ว อยู่สูงจากระดับพื้นดิน ๑๔.๗๐ เมตร )


    
๒. การบูรณะครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองศรีโคตบูรเป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน สร้างกำแพงรอบพระธาตุ พร้อมทั้งซุ้มประตู และเจดีย์หอข้าวพระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์              


    
 ๓. การบูรณะครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ โดยมีเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน การบูรณะครั้งนี้ ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองซึ่งทำการบูรณะใน พ.ศ. ๕๐๐ ให้สูงขึ้นอีกประมาณ ๔๓ เมตร                                                  ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐาน พระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้อย่างแน่นหนา ได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้ว มรกต และอัญมณีอันมีค่า ไว้ภายในอูบสำริดและนอกอูบสำริด มีจารึกพระธาตุพนมว่า "ธาตุปะนม" 


     ๔. การบูรณะครั้งที่ ๔ ใน พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๕๖ โดยมีเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ ประดับด้วยเพชรพลอยสีต่าง ๆ ประมาณ ๒๐๐ เม็ด และได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ในปีนั้น ( พ.ศ. ๒๓๕๖ ) ( ฉัตรนี้ ได้นำลงมาเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารใน พ.ศ. ๒๔๙๗ )


    ๕.การบูรณะครั้งที่๕ โดยมีพระครูวิโรจน์รัตโนบลวัดทุ่งศรีเมืองจังหวัดอุบลราชธานี   เป็นประธานได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุพนมใหม่ลงรักปิดทองส่วนบนประดับแก้วติดดาวที่ระฆัง แผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด ปูลานพระธาตุ ซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง


     
๖.การบูรณะครั้ง๖ ในพ.ศ.๒๔๘๓ - ๘๔ สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีให้กรมศิลปากรมีหลวงวิจิตราวาทการเป็นหัวหน้าสร้างครอบพระธาตุพนมองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชัน้ที่ ๓ ขั้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร


   ๗.พ.ศ.๒๔๙๗รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้ทำฉัตรด้วยทองคำ ซึ่งเป็นของวัดที่ได้จากประชาชนบริจาคและได้ทำพิธียกฉัตรในปีนั้น    ฉัตรทองคำมีเนื้อทองของวัดอยู่ประมาณ ๗ กิโลกรัม นอกนั้นเป็นโลหะสีทองหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม      ทั้งหมด ๑๑๐กิโลกรัมก่อนรื้อนั่งร้านทางวัดได้ขอแรงสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร โบกปูนตั้งแต่ยอดซุ้มประตูพระธาตุชั้นที่ ๑ จนถึงยอดสุดใช้เวลาทำงานอยู่ ๑เดือนจึงแล้วเสร็จ

    

 

    ๘.พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางวัดได้ลงรักปิดทองพระธาตุพนมส่วนยอดประมาณ ๑๐เมตร      จนถึงก้านฉัตรได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรช่วยทำงานอยู่ ๑เดือนกับ๑๕ วันจึงเสร็จเรียบร้อยดี

 

    ๙.พ.ศ.๒๕๑๑ทางวัดได้ขอแรงพระภิกษุสามเณร ลงรักปิดทองลวดลายองค์พระธาตุพนมช่วงบน ซึ่งทำการประดับใน พ.ศ.๒๔๘๓-๘๔ ส่วนยอดสูงประมาณ ๕ เมตร ได้เอาแผ่นทองเหลืองหุ้มแล้วจึงลงรักปิดทอง ใช้เวลาทำงาน ๒ เดือนกว่าจึงแล้วเสร็จ  

      

     ๑๐. ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ ทับวัตถุก่อสร้าง ๆ ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น เช่น หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้ ศาลาการเปรียญและพระวิหารหอพระแก้วเสียหายหมด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ซึ่งสร้างในสมัยแรกนั้นเก่าแก่มาก และไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงเกิดพังทลายลงมาดังกล่าว


     ๑๑. วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๑๘ หลังจากองค์พระธาตุพนมพังทลายแล้ว ๒๐ วัน         เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ทำการรื้อถอนและขนย้ายซากปรักหักพังขององค์พระธาตุพนม   แรงงานคนงานจำนวน๕๐คนใช้เวลาในการรื้อถอนและขนย้ายอยู่ ๑๗๐ วันจึงเสร็จเรียบร้อยดี


    ๑๒. วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๘ ทำพิธีบูชาพระธาตุพนมและบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษตลอดถึงเทพเจ้าผู้พิทักษ์องค์พระธาตุพนม อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่           พระธาตุจำลองชั่วคราวทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่เมื่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่เสร็จแล้ว จะได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ที่เดิม 
            ในพิธีนี้มี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส   พระพิมลธรรม ( อาสภมหาเถระ ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และในขณะเดียวกันก็ได้อัญเชีญเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่พระธาตุจำลองด้วย


    ๑๓. วันที่ ๑๗ - ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังแล้ว ๖๒ วัน )    ได้พบพระอุรังคธาตุหรือกระดูกส่วนหัวอกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรจุอยู่ในผอบแก้ว หรือหลอดแก้ว ซึ่งมีสัณฐานคล้ายรูปหัวใจ ผอบแก้วใบนี้หุ้มทองมีช่องเจาะสี่ด้าน   มีฝาทองคำปิดสนิทสูง ๒.๑ เซนติเมตร มีสีขาวแวววาวมาก คล้ายกับแก้วผลึก ภายในผอบมีน้ำมันจันทน์หล่อเลี้ยงอยู่และมีพระอุรังคธาตุบรรจุอยู่ ๘ องค์


     ๑๔. วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากพบพระอุรังคธาตุแล้ว ๒ เดือน ๒๕ วัน )      จัดสมโภชพระอุรังคธาตุขึ้นรวม๗วัน๗คืน วันที่๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘-วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๙ 
ในงานนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้ทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธี     สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์สถานที่ประกอบพิธีอยู่ที่สนามหญ้าหน้าบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุพนม 


      ๑๕. วันที่ ๑๐ - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออบมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา และนำสิ่งของที่พบในองค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนชมตลอดงาน


          ๑๖. วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๙ บริษัท อิตาเลียน - ไทย ได้ขุดหลุมลงเข็มรากฐานพระธาตุพนมองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ ๒๘ - ๒๙ พฤษภาคม ศกเดียวกัน ทางวัดพระธาตุพนม   พระเทพรัตนโมลีเป็นประธานได้ทำพิธีลงเข็มรากพระธาตุพนมเพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่


         ๑๗. วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๙ สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จมาเยี่ยมคณะสงฆ์และประชาชนทั่วัดพระธาตุพนม ได้ตรวจดูการก่อสร้างองค์พระธาตุพนม และได้ทรงนมัสการพระอุรังคธาตุด้วย


         ๑๘. วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๙ ถึงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๒๐ ทางวัดได้ขอแรงประชาชนในเขตอำเภอธาตุพนมมาขนเศษอิฐเศษปูนจากบริเวณสนามหญ้าข้างในวิหารคตออกไปกองไว้ข้างนอกทางด้านทิศเหนือ ซึ่งอยู่ใกล้หอพระนอน


         ๑๙. วันที่ ๑๙ มกราคม ถึงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีกธาตุออกไปให้ประชาชนชมและสักการะบูชาอีกและมีการแสดงนิทรรศการของโบราณเหมือนปีก่อน


         ๒๐. วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๐ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้ลงมือประดับตกแต่งลวดลายองค์พระธาตุพนม


         ๒๑. วันที่ ๑๗ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี             ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกให้ประชาชนได้สักการะบูชาตลอดงานพระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เจ้าคณะจังหวัดนครพนม และนายสมพร กลิ่นพงษา  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ ได้ทำพิธีแห่โดยตั้งขบวนแห่ที่ถนนหน้าวัดแล้วเดินทางไปตามถนนชยางกูรเลี้ยวเข้าถนนหน้าพระธาตุพนมจำลอง ตรงไปยังเบญจาซึ่งตั้งอยู่สนามหญ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพระธาตุแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เบญจา เสร็จงานแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการแสดงนิทรรศการเหมือนปีก่อนฯ


     ๒๒. วันที่ ๖ - ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ ทางวัดได้จัดงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีเหมือนปีก่อน ๆ และได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชาตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร และนายพิชิต ลักษณะสมพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานพิธีอัญเชิญ ทำพิธีแห่รอบองค์พระธาตุ ๑ รอบ แล้วจึงได้อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานไว้ บนพระเบญจาตลอด ๗ วัน ในวันสุดท้ายของงาน  พระเทพรัตนโมลีพร้อมด้วยพระสงฆ์และญาติโยมได้ทำพิธีคาระวะพระอุรังคธาตุแล้วอัญเชิญประดิษฐานไว้ที่เดิมในงานนี้มีการนำเอาของมีค่าซึ่งค้นพบที่องค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนได้ชมจนตลอดงานเหมือนปีที่แล้วมา


     ๒๓.วันที่๒๑-๒๓มีนาคม๒๕๒๒ทางรัฐบาลได้จัดพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคตุ     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีบรรจุ ในวันแรกของงานได้ทำพิธีแห่พระอุรังคธาตุ ในวันที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงเป็นประธานยกฉัตรพระธาตุ ในวันที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




กิจกรรมของชมรมฯ

2 มกราคม 65 คุณ Sayam Sretkit ถวายสังฆทานรวมถึงถวายพระพุทธรูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วัดพระธาตุจอมแจ้งต.ทุ่งยาวอ.ปายจ.แม่ฮ่องสอน
1 มกราคม 65 ถวายตู้พระบรมสารีริกธาตุและอรหันต์ธาตุ รวม 743วัด
1 มกราคม 65 คุณ Veerapol Teeravorn บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ๔๒ องค์ สมเด็จองค์ปฐม หล่อถวายวัดดอยเสด็จ จ.เลย
30 ธันวาคม 64 นำตู้พระบรมฯ(โครงการตู้บุญไม่จำกัดปี7)
27 ธันวาคม 64 มอบพระบรมสารีริกธาตุจำนวน 30 องค์ พระธาตุพระสีวลีจำนวน 3 องค์ ณ วัดราษฎรอุทิศ จังหวัดร้อยเอ็ด
23 ธันวาคม 64 บรรจุ​พระบรม​สารี​ริก​ธาตุ​ในองค์สมเด็จ​องค์​ปฐม 4 แห่ง
23 ธันวาคม 64 น้อมถวายตู้​พระบรมธาตุ​ชมรม​รักษ์​พระบรมธาตุ​แห่ง​ประเทศไทย​อัญเชิญ​ประดิษฐาน​ในองค์​พระธาตุ​พนม​บรมเจดีย์
20 ธันวามคม 64 จากโพสต์ คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ ถวาย พระบรมสารีริกธาตุพระสงฆ์ 250 รูป มาร่วมงานบุญทอดผ้าป่าสภาสงฆ์จังหวัดเลย ประจำปี 2564 (รอบที่ 4 อำเภอที่11) ทอดถวาย ณ วัดแสงอรุณ บ้านกลาง ต.เชียงกลม จ เลย
10-19 ธันวาคม 64 จากโพสต์ คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ มอบเจดีย์ผอบทอง เจดีย์ผอบใส ผอบทองเหลือง พานรองเจดีย์ เพื่อน้อมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
18​ ธันวาคม​ 64 ถวายพระบรมธาตุ​ในองค์พระเจดีย์​ แด่หลวงปู่ครูบาอินแก้ว สำนัก​สงฆ์​ถ้ำอ่างสลุง​ แม่ระมาด​ ตาก
18 ธันวาคม 2564 บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุพระปัจเจก​พระพุทธ​เจ้า พระอรหันตสาวกธาตุ และ​วัตถุ​มงคลต่างๆ ณ วัดบ้านหนองเปือยน้อย ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
12 ธันวาคม 2564 คุณ Ka Taew NK น้อมถวายพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุพระปัจเจก​พระพุทธ​เจ้า พระอรหันตสาวกธาตุ พระครูโสภณสมณกิจ (หลวงปู่บุญจันทร์ ดำ สีลคุโณ) วัดป่ามณีศรีโคตมวงษ์ อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี
11 ธันวาคม 64 ถวายพระบรมสารีริกธาตุ​ ณ วัดบ้านป่าเหว อ.เมืองปาน จ.ลำปาง.
12 ธันวาคม 2564 น้อมถวายพระบรมสารีริกธาตุในแดนพุทธภูมิ บรรจุ ในองค์พระ ณ วัดปากน้ำโพเหนือ นครสวรรค์
8-9 ธันวาคม 2564 น้อมถวายสมเด็จองค์ปฐมหลวงปู่ 82 องค์ ถวายสังฆทาน กาแฟ ณ วัดพระธาตุพนม
10 ธันวาคม 2564 คุณ Ka Taew NK ถวายพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุพระปัจเจก​พระพุทธ​เจ้า พระอรหันตสาวกธาตุหลวงปู่คลาด ครุธัมโม เพื่อประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์ศรีภูพระบาท ทรงจักรีฉัตร 9 ชั้น วัดป่าบ้านใหม่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
7 ธันวาคม 64 ถวาย​ พระบรมธาตุ​​พระอาจารย์​ฐิติ​นันท์​ คำนวน​ ท่านเจ้าอาวาสวัดอุมลอง
8 ธันวาคม 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ น้อมถวายพญาครุฑทอง น้อมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ19 องค์ ที่โรงงานรุ่งเรืองศิลป์หล่อพระ
5 ธันวาคม 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ มอบพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานในองค์พระ
2-4 ธันวาคม 64 คุณพเยาว์ศรี โครตวงษา ( แม่น้อย) เป็นตัวแทนไปมอบถวาย พระบรมสารีริกธาตุ วัดป่าสมบรูณ์ธรรม, วัดพระธาตุแช่แห้ง และ วัดสันก้างปลา
4 ธันวาคม 2564 จากโพสต์ คุณ Ka Taew NK ถวายพระบรมสารีริกธาพระสมุห์สมศักดิ์ กิตฺติสารเมธี วัดศรีบุญเรือง ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
2 ธันวาคม 2564 จาก โพสต์ คุณ Dadra Rada Flower ถวายพระบรมสารีริกธาตุแด่ท่านเจ้าอาวาส @วัดถ้ำพระธาตุ(สายเอก) ต.โคกตูม อ.เมือง จ.ลพบุรี
28-11-64 ถวายพระบรมธาตุแด่ พระอาจารย์ ไมเคิล วังชุก นิกายวชิรญาณ ไปประดิษฐาน วัด Utok Goumpa monastry at Paro ณ ประเทศภูฏาน​ไปประเทศ​ภูฏาน​
28 พฤษศจิกายน 64 จากโพสต์ พระณัฐพล ปญฺญาวุฑฺโฒ ภิกขุ ได้รับพระธาตุเพื่อบรรจุพระสถูปเจดีย์จากชมรม ณ วัดเตาปูน ตำบล ห้างฉัตร อำเภอ ห้างฉัตร จังหวัด ลำปาง.
29 พฤษศจิกายน 64 จากโพสต์ พระสุยาพร ภูริปญฺโญ มอบถวายพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันธาตุและผอบแก้ว ท่านพระครูสิริธรรมบัณฑิต,ผศ,มหาลัยสงฆ์นครลำปาง
29 พฤษศจิกายน 64 จากโพสต์ คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ ถวายพระแก้วแดง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ ณ สถานธรรมพุทธพรหมปัญโญ สาขา จ.แพร่
#สรุปงานบุญกฐินชมรมรักษ์ปี2564
21​ พฤศจิกายน​ 64 ร่วม หล่อพระบรมไตรโลกนาถ​ หลวงปู่​ทวด​ หลวงปู่โต​ หลวงปู่มั่น​ หลวงปู่ครู​บาศรี​วิชัย ณ วัดป่า​ชุมพลบุรี​ จ.สุรินทร์
22 พฤษศจิกายน 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ มอบพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุหล่อหลวงปู่ดู่หน้าตัก 5 เมตร 59 องค์ บรรจุองค์พระจักรพรรดิ 9 องค์
22 พฤษศจิกายน 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ มอบพระบรมสารีริกธาตุ ถวายหลวงปู่ทิวา อาภากโร ศูนย์ปฎิบัติธรรมเสริมรังสี อ.ปากช่อง จ.นครราชศรีมา
24 พฤษศจิกายน 64 คุณ Therdthai X Khamtad อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ๙๘ องค์ ถวายหลวงปู่บุญศรี จันทโชโต วัดป่าหินฮาวสังฆมณีศรีธันดร จ.มหาสารคาม
17 พฤษศจิกายน 64 คุณ Therdthai X Khamtad อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุพระเกศพระสมณโคดมหน้าตัก40นิ้ว ประดิษฐานที่อาคารปฎิบัติธรรม วัดพระธาตุพนม
17 -11-64 กฐิน​วัดป่าชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์​ พวกเราน้อมถวาย​ ๓๒,๐๐๐​ บาท
วันที่ 17 พฤษศจิกายน 64 กลุ่มบัวผลิหน่ออัญเชิญพระบรมธาตุ พระอรหันตธาตุจากชมรมฯบรรจุในเจดีย์หินอ่อนถวาย สำนักสงฆ์ถ้ำพระธาตุเจริญธรรม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
17 พฤษศจิกายน 64 พระอาจารย์ชุมพล บุญจันทร์ถวายพระบรมสารีริกธาตุ และร่วมทำบุญทอดกฐินสามัคคี แก่ท่านพระครูประทีปปัญญาวุธ จต.ละทาย จร.วัดบ้านโอ้น
14 พฤศจิกายน 64 บุญกฐิน อริยะแห่งพุทธประเพณี​ ณ​ วัดกู่สุวรรณ​วนาราม
14 พฤศจิกายน 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ มอบพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานบรรจุหล่อองค์พระประธานเนื้อโลหะ ในงานบุญกฐิน วัดป่าปทุมสิราวาส อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
14 พฤศจิกายน กฐิน ณ.วัดแหลมตะลุมพุก ม.1ต.แหลมตะลุมพุกอ.ปากพนังจ.นครศรีธรรมราช (กฐินสามัคคียอดรวมสุทธิ 246144บาท)
11-11-21 อัญเชิญ​พระบรมธาตุ​ พระธาตุบรรจุเจดีย์​ 28​ องค์​ วัดพระธาตุศรี​เวียงชัย​ ลำพูน​, พระบรมธาตุ​และพระอรหันต​ธาตุ​ไปประดิษฐาน​ วัดพนมปรำพิล ประเทศกัมพูชา​
วันที่ 12 พ.ย 64 ณ Therdthai X Khamtad อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อบรรจุพระ
สนจักร์ มอบพระบรมสารีริกธาตุห้คุณสมชาย งามสวย เพื่อน้อมอัญเชิญประดิษฐานองค์พระ และมอบถวายพ่อแม่ครูบาอารย์ ในช่วงงานกฐิน ปี 2564
วันที่ 9 พ.ย 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ มอบพระบรมสารีริกธาตุ ถวายท่านพระครูสังฆรักษ์ พชรพล วิถีธรรม วัดโพธิ์ชัย บ.นาไก่ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู
วันที่ื 7 พ.ย. 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ มอบถวายพระบรมสารีริกธาตุถวายพระอาจารย์เสกสรร ถวายวัดดอยข่อยเขาแก้ว อ.เมือง จ.ตาก
วันที่ 9 พ.ย 64 บรรจุ​พระบรมธาตุ​พระอรหันต​ธาตุ​ สำนักธรรมจาริก​ดอยมูเซอ บ้านแม่ท้อ​ จังหวัดตาก
วันที่ 30 ตุลาคม 64 คุณ Therdthai X Khamtad อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุยอดพระเกศพระรัตนสัมภวะพุทธะ
วันที่ 31 ตุลาคม 2564 บุญกฐินวัดป่าดงยางใหญ่
วันที่ 25 ตุลาคม 64 โครงการตู้บุญไม่จำกัดปี7 ถวายตู้พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์ธาตุโดยอัญเชิญพระธาตุจากชมรมรักษ์พระบรมธาตุแห่งประเทศไทย
วันที่ 5 พฤศจิกายน 64 โครงการตู้บุญไม่จำกัดปี7 ถวายตู้พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์ธาตุโดยอัญเชิญพระธาตุจากชมรมรักษ์พระบรมธาตุแห่งประเทศไทย
23-10-64 ชมรมฯ​น้อมถวายพระ​บรมส​า​รี​ริก​ธาตุ​ และ​พระอรหันต​ธาตุ​ วัดวชิร​ธรร​มา​วาส​ ลาดกระบัง
24-10-64 น้องเจ​สราวุฒิ​ สวัสดิ์​กลาง ร่วมเป็น​เจ้าภาพ​กฐินวัดหญ้าคา​ อำเภอโนนสูง​ นครราชสีมา
23 ตุลาคม 2564 คุณธิดาพร อยู่คล้าย อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุ ประดิษฐาน ณ วัดวงษ์เพชร ต.โคกตูม อ.เมือง จ.ลพบุรี
24 ตุลาคม64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ ถวายปัจจัยร่วมบุญกฐิน ปี 2564 วัดถ้ำเมืองนะ และ พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ และพระจักรพรรดิปิดทอง
23 ตุลาคม 64 กลุ่มสะพานบุญ นำตู้พระบรมฯ(โครงการตู้บุญไม่จำกัดปี7)ถวายตู้พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์ธาตุ
22 ตุลาคม 64 จากโพสต์ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ น้อมถวายพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ ที่วัดหลวงพ่อใส น้อมถวายพระพุทธเจ้าปางจักรพรรดิ 5 พระองค์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุรวม 45 องค์ รอบพระธาตุพนม
13 ตุลาคม 2564 เข้าร่วมพิธีอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ, พระอรหันตธาตุ, อัฐิธาตุ พระอริยสงฆ์ องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ขึ้นประดิษฐาน ณ เจดีย์ "รังสีรัตนเจดีย์" ในวิหารบูรพาจารย์ วัดรังสีรัตนวารี (วัดป่าเชิงเลน)
19​ ตุลาคม​ 64 น้อมถวายพระ​บรมส​า​รี​ริก​ธาตุ​ พระปัจเจก​พระ​พุทธเจ้า​พระอรหันต​ธาตุ ณ​ เจดีย์​ทันใจ​ วัดเสม็ดใต้​ อ.บางคล้า​ จ.ฉะเชิงเทรา​
17 ตุลาคม 64 คุณอรพรรณ ขัมภรัตน์ อัญเชิญพระบรมธาตุและพระอรหันตธาตุถวายวัดถ้ำขุนแผน จ.กาญจนบุรี
17 ตุลาคม 64 จากโพสต์ คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ มอบพระบรมสารีริกธาตุ ให้คุณแม่ชีต่าย 9 องค์ ร่วมหล่อพระพุทธเจ้าหน้าตัก 2 เมตร ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
12 ตุลาคม 64 น้อมถวายพระบรมธาตุ พระปัจเจกพระพุทธเจ้า พระอรหันตธาตุ บรรจุในองค์พระพุทธรูป ๒ องค์ ซ้าย ขวา หน้าพระวิหาร วัดโป่งทองชัยพัฒนาราม บึงกาฬ.
11 ตุลาคม 64 ถวายพระบรมธาตุแด่ 6 วัด
29 กันยายน 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ ถวายพระแก้วทอง และพระแก้วมรก พร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ 2 ชุด และพญาครุฑ 2 ตน ที่สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าหก ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
29 กันยายน 64 MadameJin Newlife คุณแม่มณียา ณ อุบล ถวายพระบรมสารีริกธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ธาตุ ณ วัดป่าอุดมธรรมทักษิณาราม จ.ยโสธร
26 กันยายน 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ ถวายพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ วัดกอม่วง ต.อุโมงค์ อ.เมือง จ.ลำพูน
24 กันยายน 64 เทอดไทได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ๑๐๐องค์ ถวายพระครูอรรถสารโสภิต
23 กันยายน 64 คุณ Therdthai X Khamtad อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ๗๙องค์ ถวายพระสุทธิธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง
19 กันยายน 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ ร่วมบุญกับพระอาจารย์ เสกสรร ที่ศาลหลักเมืองเขต เชียงใหม่-ลำพูน
21 กันยายน 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐาน ที่เศียรพระประธาน ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุบรรจุ 19 องค์ พระอรหันต์ธาตุ 6 องค์ ณ ศาลาปฎิบัติธรรม วัดป่าประสงค์ธรรม จ.เลย
21 กันยนยน 64 คุณ Therdthai X Khamtad ถวายพระบรมสารีริกธาตุ ๓๘ องค์ เจ้าอาวาสวัดหนองตูบ
19 กันยายน 64 คุณ Therdthai X Khamtad ถวายพระบรมสารีริกธาตุ ๑๐๘ องค์ ณ เจดีย์ วัดพุทธมงคล
18 กันยายน 64 คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ น้อมถวายพระบรมสารีริกธาตุ9องค์ ที่วัดดอยอุดมธรรม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
18 กันยายน 64 คุณ Therdthai X Khamtad ถวายพระบรมสารีริกธาตุ ๗๘องค์พระเทพสิทธาจารย์
16 กันยายน 64 คุณ Therdthai X Khamtad ถวาย พระบรมสารีริกธาตุ ๓๘ องค์พระครูปลัดทรงศักดิ์ นิราลโย เจ้าอาวาสวัดป่าวังน้ำเย็น
๑๐​ กัน​ยายน ๖๔ ณ​ วัดป่าเขาภูหลวง วังน้ำ​เขียว​ นครราชสีมา​น้อมถวาย​ ธรรมจักร​บรรจุ​พระบรม​สารี​ริก​ธาตุ​ พระแก้วมรกต​เลี่ยม​ทอง ปู่บุญ​ส่ง​ ฐิต​
8 กันยายน 64 โดย คุณณัฐชานันท์ สัจจะวรโภคิน ถวายตู้พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์ธาตุ โครงการตู้บุญไม่จำกัดปี7
30 สิงหาคม 64 โดย คุณณัฐชานันท์ สัจจะวรโภคิน ถวายตู้พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์ธาตุ โครงการตู้บุญไม่จำกัดปี7
28 ส.ค. 64 จากโพสต์ MadameJin Newlife อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ถวายแด่ท่านพระครูอินทชัยคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ต.ศรีธาตุ อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี
28 ส.ค. 64 สายบุญ คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ ถวายผอบทองเหลือง -เพื่อน้อมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอาจารย์เสกสรร จิรธฺมโม ภักดีผล ถวายหลวงตาม้า
25/8/61 ถวายตู้พระบรมธาตุและเจดีย์ หลวงปู่ทอง ณ วัดมหาธาตุ ฯ
26 ส.ค. 2561 ถวายผอบเจดีย์ประดิษฐานอัฐิหลวงปู่ฝั้น วัดถ้ำขาม สกลนคร
20 ส.ค. 64 กลุ่มสะพานบุญที่ให้ความอนุเคราะห์พระบรมฯและพระธาตุ นำถวายตู้พระบรมฯ(โครงการตู้บุญไม่จำกัดปี7)ถวายตู้พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์ธาตุโดย คุณณัฐชานันท์ สัจจะวรโภคิน(อุ๋ม)
18 สิงหาคม 2563 ซ่อมแซม บูรณะ​ องค์​พระพุทธ​จักรพรรดิ​รัตน​วร​มหา​มุ​นี
17 สิงหาคม 2564 สายบุญคุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ ถวายพระแก้ว-ทอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
15-16 สิงหาคม 2564 สายบุญคุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ มอบพระสมเด็จองค์ปฐมและพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุ ผอบเจดีย์ใส ให้กับนักบิน-ตชด
16-8-63 , 17​-8-62, 17-8-59 กิจกรรมน้อมถวายพระบรมธาตุ
16 สิงหาคม 2564 จากโพสต์ MadameJin น้อมถวาย พระบรมสารีริกธาตุ และสมเด็จองค์ปฐม ณ วัดโพธิ์ชัย ต.นายูง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี
12​ สิงหาคม​ 64 น้อมถวายเจดีย์บรรจุสมเด็จองค์​ปฐม​พร้อมด้วย​อัญมณี​นพรัตน์​ แด่ท่าน​พระอาจารย์​วร​ชัย​ วร​ชโย​ ท่านเจ้าอาวาสวัดดงยางใหญ่
27-6-58 ณ​ วัดแม่อ้อใน อ.พาน จ.เชียงราย น้อมถวายพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต​ธาตุ​ จำนวน ๒๒ วัดแด่พระครูอุดมพัฒนสุนทร
9 สิงหาคม 2564 คุณ​พรรณทิพย์​น้อมถวายเจดีย์พระธาตุที่วัดถ้ำปากเปียง จ.เชียงใหม่
10​ สิงหาคม​ 58​ ชมรมรักษ์พระบรมธาตุฯ​ น้อมถวายพระบรมธาตุถวายหลวงปู่ท่าน
12 สิงหาคม 2564 จากสายบุญ คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ ถวายพระแก้วแดง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ โรงพยาบาลสันป่าตอง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
14 สิงหาคม 2561 น้อมถวายพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ บรรจุเจดีย์ภูถ้ำม่วง บ้านไพรสวรรค์ ต.สารภี อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี
12 สิงหาคม 2563 น้อมถวายพระบรมธาตุ และพระอรหันตธาตุ ณ วัดกระโจมทอง จ.นนทบุรี
5-08-63 คัดพระบรมให้ท่านสมาชิก ที่ร่วม​กิจกรรม​ 28 ท่าน ถวายบรรจุ​พระพุทธ​รูป​ บรรจุ​เจดีย์​ วัดอัมพวัน​บ้านม่วง
7-08-64 สายบุญ คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ องค์พระจักรพรรดิ ณ สถานธรรมวิปัสสนา สถานพรหมปัญโญ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
3​ สิงหาคม​ 2564 น้​อมถวายพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ​แด่พระอดิเรก​ ธิตเมโธ​ เพื่อบรรจุเจดีย์​วัดเหล่าภูน้อย จังหวัด​กาฬสินธุ์
4-08-64 ถวายพระ​บรมส​า​รี​ริก​ธาตุ​แด่พระครูอนุ​พัทธ​ถ​ิ​ร​ธรรม​ ฐิต​ธั​มโม​ วัดเมือง​แป​ง จังหวัด​แม่ฮ่องสอน
ตู้บุญก.ค.64 กลุ่มสะพานบุญ โดย คุณณัฐชานันท์ สัจจะวรโภคิน(อุ๋ม)
26-7-64 สายบุญ คุณ รัชฎาภรณ์ แสนจักร์ น้อมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ณ​ วัดพระธาตุพนมอเมริกา เมือง Yucca Valleys, California พิธีบรรจุพระสารีริกธาตุประดิษฐานไว้ที่พระธาตุพนมจำลอง



bulletHome
dot
ค้นหาบทความ

dot
dot
Pratat Gallery
dot
bulletอัลบั้ม กิจกรรมชมรมล่าสุด
bulletกิจกรรมชมรมฯ
dot
สมัครสมาชิกชมรมรักษ์พระบรมธาตุฯฟรี/apply for membership
dot
bulletกรอกรายละเอียดสมัครสมาชิก/applying click here
dot
ติดต่อสอบถาม/contact us
dot
bulletติดต่อสอบถามคลิ๊กที่นี่/Click here
dot
ห้องพระรัตนตรัย
dot
bulletห้องพระพุทธ(ตำนานและพุทธประวัติ)
bulletห้องพระธรรม
bulletห้องพระอริยสงฆ์
bulletพระธาตุเสด็จ
dot
เว็บพันธมิตร
dot
bulletพลังจิต
bulletอุณมิลิต
dot
เว็บธรรมะ
dot
bulletหลวงปู่มั่น
bulletหลวงตามหาบัว
bulletกฎแห่งกรรมของหลวงพ่อจรัญ
bulletหลวงพ่อครูบาเจ้าเพชรวชิรมโน
bulletเว็บเพื่อพระพุทธศาสนา
bulletโลกทิพย์
bulletตามรอยพระพุทธบาท
bulletศาลาปฎิบัติกรรมฐาน
bulletลานธรรมเสวนา
bulletพระไตรปิฎกฉบับประชาชน
bulletไทยแวร์ธรรมะออนไลน์
bulletวัดจันทาราม (ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
bulletวัดพระธาตุพนม




Copyright © 2010 All Rights Reserved.